รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล 4.0 ในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 4.0 และ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาทักษะด้านอาชีพและทักษะด้านสารสนเทศทางการบัญชีของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 4.0 ทำการศึกษาการวิจัยรูปแบบการผสมผสานการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA) ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ซึ่งทำการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยสถิติประเภทพหุตัวแปร (Multivariate Statistics)
ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์องค์ประกอบ ได้ดังนี้ 1) ทักษะด้านวิชาชีพบัญชียุคดิจิทัล ได้แก่ 1. ด้านวิชาชีพบัญชี 2. ด้านภาษีอากรธุรกิจ 3. ด้านคุณค่าทางวิชาชีพ 4. ด้านภาษา 5. ด้านการบริหารการจัดการ และ 2) ทักษะด้านสารสนเทศในยุคดิจิทัลได้แก่ 1.ด้านความสามารถในการกำหนดประเภทและขอบเขตสารสนเทศทางบัญชี 2.ความสามารถในการเข้าถึงสระสระสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ด้านความสามารถในการประเมินสาระสนเทศทางบัญชีและแหล่งสารสนเทศทางบัญชี 4. ด้านความสามารถในการใช้สารสนเทศทางบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อทำการเปรียบเทียบถึงความกลมกลืนระหว่างโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยเกณฑ์ในการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ 1.000 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ 0.9680 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ 1 และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.02104 ซึ่งเข้าใกล้ศูนย์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Al-Naser, Kh. (2017). The Integration Between Strategic Cost Management Techniques to Improve the Performance of Iraqi Manufacturing Companies. Asian Journal of Finance & Accounting, 9(1), 210-223.
Bunlertutai, K., & Khunpanichakit, D. (2016). IES2 Towards the Development of Bachelor's Degree Programs in Accounting. Chulalongkorn Business Review, 34(134), 123-138.
Committee of Accounting Professions in Accounting Education and Technology. (2019). International Educational Standard for Professional Accountants, Issue 3, Knowledge and Professional Competence. Bangkok: Federation of Accounting Professions under the Royal Patronage of His Majesty the King.
Currie, J. (2012). Target Costing: a tool for Strategic Performance Management. Certificate Public Accountant.
Suwanjutha, C., & Ashwanantakun, S. (2016). "Accounting Profession" Teaching Document, Experience Course in Accounting Profession. Nonthaburi: University Press. Sukhothai Thammathirat Open.
Henchokchai, N., & Srijunpetch, S. (2019). Auditing. Bangkok: TPN Press.
Haseeb, M. et al. (2019). Role of Social and Technological Challenges in Achieving a Sustainable Competitive Advantage and Sustainable Business Performance. Sustainability, 11(14), 3811.
Sriviboon, C., & Jermsittiparsert, K. (2019). Influence of Human Resource Practices on Thai Pharmaceutical Firm Performance with Moderating Role of Job Involvement. Systematic Reviews in Pharmacy, 10(2), 234-243.