การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคเหนือตอนบนของไทย: ศักยภาพและบทบาทของชุมชนและรัฐในการพัฒนา

Main Article Content

ประถม ศิริวงศ์วานงาม
ศรัณย์ ธิติลักษณ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมชุมชนภาคเหนือตอนบน 2) ศึกษาองค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคมชุมชนภาคเหนือตอนบน
3) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาสร้างนวัตกรรมสังคมของชุมชนภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 50 ท่าน ในพื้นที่บ้านแม่จันใต้ และบ้านผาฮี้ จังหวัดเชียงราย บ้านแม่มอก จังหวัดลำปาง ในช่วง พ.ศ. 2561 - พ.ศ. 2563


            ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและสังคม ในชุมชนภาคเหนือตอนบน ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมไว้ คือ (1) เกิดผู้นำชุมชนอย่างไม่เป็นทางการ (2) มีการจัดการตนเองแบบร่วมคิดร่วม โดยใช้กฎกติกาของชุมชนบนจารีตประเพณีควบคู่ระบบกฎหมายบ้านเมือง (3) สมาชิกในชุมชนสามารถหาตลาดการค้าและสร้างแบรนด์ของตนได้เอง (4) สร้างกลไกตลาดใหม่ขายผลิตผลและบริการไปยังผู้บริโภคโดยตรง และ (5) สร้างสรรค์อาชีพงานบริการใหม่ให้กับชุมชนจากองค์ความรู้ใหม่ 2) องค์ประกอบการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและสังคมชุมชนภาคเหนือตอนบน มีผลจากการเกิดแรงงานอาชีพ การเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจสังคมเกษตรเพื่อยังชีพมาสู่การทำเกษตรเพื่อขาย โครงการหลวงที่ส่งเสริมอาชีพ การสาธารณสุขและการศึกษา และรัฐหันมาส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ส่งผลให้เศรษฐกิจชุมชนหลายแห่งประสบความสำเร็จและเกิดนวัตกรรมทางสังคมใหม่ 3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาสร้างนวัตกรรมสังคมของชุมชนภาคเหนือตอนบน โดยมี 3 ปัจจัยหลัก คือ (1) ประเทศไทยมีระบบกฎหมายและระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ดี (2) มีการนำองค์ความรู้ใหม่เข้าสู่ชุมชนและมีการจัดการที่เหมาะสม และ (3) มีองค์ประกอบและปัจจัยสนับสนุนภายนอก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aiempriwan, W. (2014). Political culture and political development in Thailand. Lecture document of Sukhothai Thammathirat University. (Problems of Thai political development). (7th ed.). Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat University Press.

Almond, A. G., & Verba, S. (1972). The Civic Culture. Princeton: Princeton University Press.

Boonsuaykhwan, R. (2014). Citizen Politics: Literature Reviews for Making Citizen Politics Indicators. Journal of Humanities and Social Sciences, 6(2), 121-140.

Chaisaard, W. (2020). National Cheat Museum Reverse the corrupt city vigorously. Retrieved March 10, 2020, from https://www.Posttoday.com/politic/report/386400.

Klaykaew, K. ( 2014). Family and Educational Institution Situations and Psychological Characteristic Related to Ethical Behaviors of Undergraduate Students. Journal of Behavioral Science for Development, 6(1), 159-175.

Kongjareon, M. (2020). Development of a Community Empowerment Model for the Promotion of Democratic and Civic Conscience. Journal of Education, 21(1), 110-127.

Koonnala, P. (2020). The Role of Citizenship under Democracy of Senior High School Students in Lamphun Province. Journal of SaengKhomKham Buddhist Studies, 5(1), 85-99.

Kraisomsart, S., & Klaimongkol, Y. (2015). Development of Citizenship Characteristics Cespecting to the Differences of Sixth Grade Students by Using Project-Based Learning. OJED, 10(2), 120-131.

Laotamatas, A. (2020). Build a Good Political Consciousness. Onet exam preparation - Legislation supporting values. Retrieved April14, 2020, from https://www.posttoday.com/politic/report/547654?fbclid=IwAR2y5p5cf2_tsCvw841kMhmcKHpIF4P4emq-1ogTTG8jkNs_J5O94OLlrbc.

Makaramani, R. (2013). Citizenship Behaviors of Youth in Suan Sunandha Rajabhat University. Journal Sunan Sunandha Rajabhat University, 5, 74-84.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2009). Dictionary of Buddhism. (8th ed).Bangkok: MCU.

______. (2011). Political Science and Ethics of Buddhist Politicians. Bangkok: Buddhadhamma Foundation.

Phra Khru Sangkharak Kiattisak Kittipanyo. (2015). Research Methodology in Social Sciences. Chiang Mai: Pracha Thurakit Co,Ltd.

Pipitkun, K. (2017). Political Culture of Democracy in Roi-et Province. Journal of MCU Social Science Review, 6(2), 647-658.

Pye, L. W. (1968). Political Culture International Encyclopedia of the Social Sciences. New York: Macmillan.

Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper and Row.

The Secretariat of the House of Representatives (2016). Building Citizenship in Democracy. Bangkok: Publishing: The Secretariat of the House of Representative.

Thepchamnong, A. (2014). Electoral Law: Using the Right to Vote without Intention to Vote. Journal of the Prosecutor, 27(272), 34-46.