แนวทางแก้ไขปัญหาเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญา โดยใช้หลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา: กรณีศึกษาเยาวชนในจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสาเหตุที่เด็กหรือเยาวชนไปกระทำความผิดอาญา
2) เพื่อศึกษาแนวทางปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมาย และแนวทางปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา ศีล ศีล 5 สมาธิ และปัญญา ที่นำมาใช้เป็นมาตรการในการแก้ไขปัญหาเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญา 3) เพื่อทราบผลที่ได้รับ จากการนำหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ด้วยศีล ศีล 5 สมาธิ มาแก้ไขปัญหาเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดทางอาญา โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงและนำมาวิเคราะห์ อธิบายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สาเหตุสำคัญที่เด็กหรือเยาวชนไปกระทำความผิดอาญานั้น โดยสาเหตุแรกเกิดจากครอบครัว บิดามารดา รองลงมาคือ ยาเสพติด เพื่อน ความเจริญด้านเทคโนโลยี 2) แนวทางปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมาย ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเด็กหรือเยาวชนกระทำความผิดอาญาได้ แต่แก้ไขได้เฉพาะเด็กหรือเยาวชนบางคนที่กระทำความผิดเพียงเล็กน้อย นอกนั้นแก้ไขไม่ได้ ส่วนการนำหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา เกี่ยวกับศีล ศีล 5 สมาธิ และปัญญา มาเป็นมาตรการให้เด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม โดยการใช้มาตรการดังกล่าวควบคู่กับทางกฎหมาย อย่างจริงจังเป็นรูปธรรม จึงสามารถให้กลับตนเป็นคนดีได้และไม่ไปกระทำความผิด 3) หลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา เรื่องศีล 5 สมาธิ และปัญญา เป็นหลักปฏิบัติทางพุทธศาสนา ที่จะนำมาเป็นหลักปฏิบัติให้เด็กหรือเยาวชนที่กระทำความผิดได้ปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติตามก็จะทำให้เกิดความ รู้สึกตน ไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น มีเมตตากรุณา มีความเกรงกลัวต่อบาป ทำให้ไม่ไปกระทำความผิด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Ministry of Social Development and Human Security, Office of the Permanent Secretary, (2017). Preparation for Aging Society of Thailand Development Research. Bangkok:
Office of the Permanent Secretary.
National Human Rights Commission of Thailand, (2015) Convention on the Rights of the Child - CRC. Retrieved May 21, 2020, from http://www.nhrc.or.th/Human-Rights-Knowledge /International-Human-Rights-Affairs/International-Law-of-human-rights.>
Viboonthanakul, S. (2020). Problems of crime among children and youth and their economic costs. Retrieved September 10, 2020 from https://www.bangkokbiznews.com/news /detail/896503>
Wichaidit, S. (2000). An application of Dhamma in Buddhism and group counseling to develop self-concepts in male juvenile delinquents at the observation and protection centre of Suratthani. (Master’s Thesis). Srinakharinwirot University. Bangkok.