ศักยภาพไร่สินสมพงศ์ ภูช้างน้อย จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ บนฐานศาสตร์พระราชาและนวัตกรรมวิถีชีวิต

Main Article Content

นันทนา อุ่นเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ไร่สินสมพงศ์ ภูช้างน้อย จังหวัดชัยภูมิ เพื่อพัฒนาเป็นท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์บนฐานศาสตร์พระราชา และนวัตกรรมวิถีชีวิต 2) ศึกษาศักยภาพในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์โดยชุมชน ศึกษาโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามจากประชาชน จำนวน 149 คน เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากตัวแทนภาครัฐ 1 คน ภาคเอกชน 1 คน ตัวแทนจากไร่สินสมพงศ์ 2 คน แกนนำชาวบ้าน 1 คน และชาวบ้าน 5 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนคุณภาพของเครื่องมือ แบบสอบถามใช้การหาค่าสหสัมพันธ์ระหว่างข้อคำถามกับคะแนนรวมของแบบสอบถามทั้งฉบับค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา และการวิเคราะห์น้ำหนักองค์ประกอบ แบบสัมภาษณ์ใช้การตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการณ์ของไร่สินสมพงศ์ ภูช้างน้อย จังหวัดชัยภูมิ มีลักษณะภูมิประเทศ เป็นป่าตะโกที่มีลักษณะเป็นที่ราบสูง มีเนื้อที่ 40 ไร่ มีประชากรอาศัยอยู่ จำนวน 884 คน มีทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ผนวกกับสิ่งที่คนในพื้นที่ได้สร้างและพัฒนาขึ้น สามารถสร้างกิจกรรมที่เป็นแนวทางในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ได้ 2. ไร่สินสมพงศ์ ภูช้างน้อย จังหวัดชัยภูมิ มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ด้านพื้นที่ ด้านการจัดการ ด้านกิจกรรมและกระบวนการ และ ด้านการมีส่วนร่วม โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ คือ 1) ให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนร่วมกันในการพัฒนา และมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ 2) วางแผนในการพัฒนาพื้นที่ ให้สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 3) ประสานงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อขอจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาพื้นที่ในชุมชน 4) ส่งเสริมให้คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 5) ประสานความร่วมมือให้ผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาให้ความรู้ เรื่องการวางแผนและการจัดการการท่องเที่ยว 6) ปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมพัฒนาชุมชน และประเพณีท้องถิ่น และ 7) ปลูกฝังให้คนในชุมชนมีจิตบริการเพื่อเตรียมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในชุมชน ให้เกิดความพึงพอใจ และประทับใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chayapan, T. (2018). Guidelines for Creative Tourism Development: A Case Study of Pha Phong Phan Pee Sub Si Thong Subdistrict, Mueang Chaiyaphum District, Chayaphum Province. College of Asian Scholar Journal, 8(Special), 1-13.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed). New York: Harper Collins.

Guengtragoon, S., & Mongkhonsrisawat, S. (2019). The Community Based Creative Tourism and Culture: A Case Study of Hong Moon Mung KhonKean City Museum, KhonKaen Province. Dhammathas Academic Journal, 19(1), 45-54.

Hair, J. F. et. al. (2006). Multivariate Data Analysis. (6th ed). New Jersey: Upper Saddle River.

Johnson-Conley, C.D. (2000). Using Community-based Participatory Research in The Development of a Consumer-driven Cultural Competency Tool. USA, University of Washington.

Klinmuenwai, K. (2018). A Study of Tourism Potential and Creating Community-Based Tourism Program and Local Guides of Nakrow Sub-District Municipality, Mae Tha District, Lampang Province. Journal of Humanities and Social Sciences, Thonburi University, 12(28), 85-97.

Leksuma, P. et al. (2019). The Guideline of Wellness Tourism Activities Developmentin WesternThailand, Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 14(49), 20-30.

Maneewong, N. (2018). Manager of Rai Sin Sompong in Phu Chang Noi, Chaiyabhum Province. Interview. October, 20.

Sangpirun, T., & Nimnatipun, S. (2016). Recreational Activities for Sustainable Tourism in Rangchorakhe Canal Community, Amphor Sena, Phranakhon Si Ayutthaya Province. Journal of International and Thai Tourism, 12(1), 47-64.

Srisa-ard, B. (2017). Basic Research. Bangkok: Suwiriyasarn Press.

Sucharit, B., & Sucharit, C. (2017). A Tourism Management Model by Community of Nangpaya District] Academic. Journal Uttaradit University, 12(2), 53-65.

Thammasat University. (2016). Creative Tourism. Retrieved March 28, 2019 from http://www.dasta.or.th/creativetourism/attachments/article/112/20_9271.pdf

Tourism Authority of Thailand. (2018). Thie Hai Ru, Poet Pratu Samong Bangkok: Explorer Channel.

Wichasawat, W. (2019). Guidelines for Potential Development of Administration and Management of the Ancient Community at Ban Chianghian, Maha Sarakham Province. Journal of International and Thai Tourism, 15(2), 21-34.