พระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตคนไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ

Main Article Content

สมบูรณ์ วัฒนะ
ประยูร สุยะใจ
เริงวิชญ์ นิลโคตร
สุวิญ รักสัตย์
พีรวัฒน์ พันศิริ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพระพุทธศาสนากับคุณค่า พื้นที่ และเวลา ของประเทศไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงของพระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตของคนไทย ในดินแดนสุวรรณภูมิ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ ขั้นตอน 1 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษาเป็นคนไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนบน 4 เส้นทาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 500 คน เป็นการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือ ที่ใช้คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พระพุทธศาสนากับคุณค่า พื้นที่ และเวลา ในประเทศไทยในดินแดนสุวรรณภูมิพบว่าดินแดนสุวรรณภูมิในส่วนของดินแดนประเทศไทยได้มีประวัติศาสตร์พุทธศาสนา ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 3 ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญจากพัฒนาการของเมืองนครปฐมและเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีในปัจจุบัน คุณลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนาคือเป็นหลักธรรมสายกลาง (มัชเฌนธรรม) และเป็นองค์รวมส่งผลให้การบูรณาการพุทธศาสนาครอบคลุมได้ทั้งมิติคุณค่า พื้นที่ และเวลา 2) ความเชื่อมโยงของพระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตของผู้คนในประเทศไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ พบว่าความเชื่อมโยงของพระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{x}= 4.08, S.D. 0.73) องค์ความรู้ที่ค้นพบจากการวิจัยมิติคุณค่าทางพระพุทธศาสนาต่อวิถีชีวิตของคนไทยในดินแดนสุวรรณภูมิในปัจจุบันคือคุณค่าทางพระพุทธศาสนาเพื่อการดำเนินชีวิต ซึ่งต้องคำนึงถึงทุนทางสังคมเป็นรากฐานสำคัญ และต้องให้สอดรับความจำเป็น 3 ด้านคือสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เกิดความยั่งยืน

Article Details

How to Cite
วัฒนะ ส., สุยะใจ ป., นิลโคตร เ., รักสัตย์ ส., & พันศิริ พ. (2021). พระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตคนไทยในดินแดนสุวรรณภูมิ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(3), 950–964. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250596
บท
บทความวิจัย

References

Bodeera, C., Adivadhanasit, C., Banchirdrit, S., & Suyaprom, S. (2013). The Buddhist Sangha Administration for Buddhism stability in region 4 of the Buddhist Sangha Administration. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal, 19(1), 43-54.

Intria, M. (2017). Social Capital. Narkbhut Paritat Journal, 9(2), 14-25.

Israngul Na Ayuthaya, J., & Dhammapiya, P. (2016). Following Father's Footsteps of Sufficient Life…to Sustainable Development. (14th Ed.). Bangkok: Pimsiripatthana.

Lins, K. V., Servaes, H., & Tamayo, A. (2017). Social Capital, Trust, and Firm Performance: The Value of Corporate Social Responsibility during the Financial Crisis. Journal of Finance, 72 (4), 1785–1824.

Patthranuprawat, S., & Bosakaranat, N. (2020). Allusion of Suvanabhumi in Sanskrit Tales. Journal of Liberal Arts, Thammasat University, 20(2), 53-81.

Phra Promkhunaporn (P.A. Payutto). (2013). Importance of Buddhism as the National Religion of Thailand. (19th Ed.). Bangkok: Thammasapa.

Pongpanich, B. (2020). Buddhism and Trade Rout in Suvarnabhimi Tera Incognita. Retrieved January 11, 2021, from https://www.silpa-mag.com/on-view/art-and-cultureclub/article_44638

Putnam, R. D. (2000). Bowling Alone: The Collapse and Revival of American Community. New York: Simon & Schuster.

Romrattanaphan, W. (2005). Social Capital. Bangkok: October Print.

Sangsuk, S., & Khammueangsaen, B. (2017). Development of Life Quality with Buddhadhamma to Students in Muban Chombueng Rajabhat University, Chombueng District, Ratchaburi Province. Journal of MCU Peace Studies, 5(3), 91-105.

Thamchob, V. (2017).The Buddhist Integration of the Sangha Organization Administration in Nakhon Sawan Province: Analyzed from the Process and Achievement. Romphruak Journal, 35(1), 115-137.

Thinapong, S. et al. (2019). Suvarnabhumi Terra Incognita. Bangkok: Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization).

Wallibhodom, S. (2020). Buddhism and trade routes in Suvarnabhumi Terra Incognita. Retrieved January 24, 2021, from https://www.silpa-mag.com/on-view/art-andculture-club/article_44638

Watana, S. et al. (2018). The Stability of Buddhism in the Modern Thai Society (Research Report). Bangkok: Department of Religious Affairs, Ministry of Culture.

Wongthes, S. (2016). Sujit Wongthes: Thai History cannot be separated from Suvarnabhumi History in ASEAN.Retrieved January 20, 2021, from https://www.matichon.co.th/columnists/news_202473

Wongyai, V. (2019). Volunteer. Retrieved February 10, 2019, from http://www.curriculumandlearning.com