นวัตกรรมการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง และ 2) เพื่อเสนอนวัตกรรมด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษทางธุรกิจของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เครื่องมือวิจัยคือ 1) แบบสอบถามที่มีโครงสร้าง 2) แบบสอบถามปัจจัยทางสังคม และ 3) แบบวัดแนวทางการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ 1) ผู้ประกอบการชุมชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน 2) นักศึกษากลุ่มเป้าหมาย จำนวน 10 คน 3) คณาจารย์ประจำหลักสูตรฯ จำนวน 5 คนรวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ประกอบการ นักศึกษา รวมไปถึงอาจารย์ประจำหลักสูตรมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันคือ ต้องการให้มีการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยในมุมมองของผู้ประกอบการ มองว่าการมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษจะช่วยเปิดโอกาสให้กับธุรกิจของตนเอง ในขณะที่นักศึกษา มองว่าตนเองพอมีทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แต่ก็ไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ กอปรกับความไม่มั่นใจในความรู้ที่ตนเองมี ทำให้ไม่มีการพัฒนาเท่าที่ควรทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะเสียโอกาสต่างๆ ที่มีในอนาคต 2) เมื่อร่วมศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษอย่างมีส่วนร่วมกับกลุ่มผู้ประกอบการชุมชน พบว่าควรส่งเสริมให้มีพื้นที่ในการฝึกฝนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ รวมไปถึงมีแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้แก่นักศึกษา นอกจากนี้การเรียนรู้จะประสบความสำเร็จบรรลุจุดประสงค์ได้ต้องอาศัยหลักธรรมสำคัญนำปฏิบัติ เช่น หลักสังคหวัตถุ 4 ซึ่งเป็นหลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และออกแบบเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ในการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ จะได้หน่วยการเรียนรู้จำนวน 8 หน่วย ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษให้นักศึกษารวมไปถึงบุคคลที่สนใจ ให้มีความพร้อมที่จะใช้ความรู้ที่ตนเองมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Donaldson, L., & Scannell, E. E. (1978). Human Resource Development: The New Trainer’s Guide. Canada: Addison-Wesley Publishing Company.
Provincial Integrated Administrative Committee of Lampang. (2019). Guidelines and Focus on Provincial Development. Retrieved September 5, 2020, from http://www.lampang.go.th/db_lap/62/01-lpa62n1.pdf.
Jongwutiwate, N., & Watjanapum, P. (1991). Theories and Concepts Related to Rural Development. Training Material on the Home Economics and Community Development. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). 12th Economic and Social Development Plan. Retrieved September 5, 2020, from https://www.nesdc.go.th/dl_link.php?nid.
Pantumanawin, D. (1995). Ethic Tree Theory. Bangkok: Office of the Civil Service Commission.
Ponsi, S. (2004). Theories and principles of community development. Bangkok: Odien Store.
Phraratworamuni (P. A. Payutto). (1995). Buddhist in Society. Bangkok: Komol Korkthong Foundation.
Thanakunparat, N. (2003). Views on the happiness of Theravada Buddhism and ethical happiness. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.
Trakoonmutta, J. (2001). The Development of Human Resource in Organization. Songkla: Prince of Songkla University.