การเข้าสู่วาระนโยบายและการก่อตัวของนโยบายจัดตั้ง บริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมมาบตาพุด

Main Article Content

สราวุฒิ ชลออยู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเข้าสู่วาระนโยบายของนโยบายจัดตั้งบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมมาบตาพุดด้วยแนวคิดกระแสนโยบายแบบพหุกระแส ได้แก่ กระแสปัญหา กระแสการเมือง และกระแสนโยบาย   2)  ศึกษากระบวนการเข้าสู่วาระนโยบายของนโยบายจัดตั้งบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมมาบตาพุดว่าสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์นโยบายหรือไม่ ทั้งในด้านของกฎหมายและตัวแสดงนโยบายที่เกี่ยวข้อง  3) ศึกษาการก่อตัวของนโยบายจัดตั้งบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมมาบตาพุดว่าเป็นไปตามข้อเสนอในตัวแบบผู้ประกอบการนโยบายหรือไม่  บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้วิธีดำเนินการวิจัยทางเอกสาร  การสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มประชากรผู้กำหนดนโยบาย 2 ราย กลุ่มหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง 5 ราย  กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบาย 6 ราย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่การเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ จากเอกสาร และจากการเข้าร่วมสัมมนา แล้วทำการวิเคราะห์ด้วยการใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) การเข้าสู่วาระนโยบายจัดตั้งบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมมาบตาพุดอธิบายด้วยแนวคิดกระแสนโยบายแบบพหุกระแส ได้แก่ กระแสปัญหาที่มีความขัดแย้งในเรื่องของปัญหามลพิษในพื้นที่นิคมฯ  กระแสการเมืองเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองปี 2557 มีการใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ สนใจกระแสปัญหาดังกล่าวจึงเสนอรายงานที่เกี่ยวข้องต่อคณะรัฐมนตรีปี พ.ศ. 2560  กระแสนโยบายเกิดเมื่อมีการเปลี่ยนมาใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 ซึ่งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้เสนอประเด็น “การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ลดข้อขัดแย้งในสังคม” เป็นประเด็นการปฏิรูปด้านการบริหารจัดการพลังงาน เมื่อกระแสทั้ง 3 กระแสมาบรรจบกัน ทำให้หน้าต่างนโยบายเปิดออกผลักดันให้เป็นวาระนโยบาย 2) กระบวนการเข้าสู่วาระนโยบายสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์นโยบาย เมื่อวาระของนโยบายชัดเจนและเป็นไปตามวัตถุประสงค์จึงทำให้การก่อตัวนโยบายเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา  3) การก่อตัวของนโยบายจัดตั้งบริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมมาบตาพุดมาจากการนำเสนอประเด็นปัญหาโดยคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านพลังงานซึ่งประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงาน จึงเป็นไปตามข้อเสนอในตัวแบบผู้ประกอบการนโยบาย  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Akaraborworn. J. (1996). Corporate Social Responsibility. (2nd ed.). Bangkok: Office of the Public Sector Development Commission.

Constitution Drafting Commission. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560. Retrieved December 11, 2020, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF.

Eyestone, Robert (1978). From Social Issues to Public Policy. New York, U.S.A.:

John Wileys & Sons, Inc.

Dye, Thomas R. (2005). Understanding Public Policy. New Jersey: Pearson Education. Lindblom, Charles E. “The Science of ‘Muddling Through’, in Shafritz, Jay M. & Hyde, Jittaruttha, C. (2019). Public Policy: Concept, Process, and Case Study. (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Kingdon, J.W. (1995). Agendas, Alternatives, and Public Policies. Boston: Little, Brown.

The Committees of The Nation Reform Steering Assembly. (2017). Social Enterprise Promotion: Community Development to Improve the Quality of Life by Industrial Sector and Energy Regulation. (1st ed). Bangkok: The Secretariat of The House of Representatives.

The Committees of The Nation Reform Steering Assembly (Energy). (2019). The Nation Reform Plans. Bangkok: Royal Thai Government Gazette.