การดำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ กรณีศึกษาชุมชนปกาเกอะญอ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน

Main Article Content

กฤตยา สารพุทธิ
ชุลีรัตน์ เจริญพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ชุมชนพระบาทห้วยต้ม และ 2) ศึกษาปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และแนวทางในการดำรงอัตลักษณ์ของชุมชนตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรคือ ชาวปกาเกอะญอที่อาศัยอยู่ในชุมชนพระบาทห้วยต้มจำนวน 10 หมู่บ้าน ในตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน การวิเคราะห์ข้อมูลคือ ศึกษาจากงานเอกสารที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์คนในชุมชน เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนนี้เกิดจากชาวปกาเกอะญอที่มีความเลื่อมใส ศรัทธา ในตัวครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จึงได้ละถิ่นฐานเดิมย้ายตามมาอยู่ใกล้อารามของท่านและร่วมกันสร้างชุมชน และจากกฎระเบียบในการอยู่ร่วมกันคือ ให้รักษาศีล 5 อย่างเคร่งครัด และต้องรับประทานอาหารมังสวิรัติ ทำให้ชุมชนมีความสงบสุข ร่มเย็น จึงมีชาวปกาเกอะญอย้ายตามมาอยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ และ 2) การดำรงอัตลักษณ์ของชุมชนนั้น ในช่วงแรกครูบาวงษ์ ท่านเป็นคนอบรม สั่งสอน และตักเตือนให้ชาวชุมชนดำรงอัตลักษณ์ไว้ด้วยตัวของท่านเอง เมื่อชุมชนเริ่มโตขึ้น ครูบาฯ ได้แต่งตั้ง “ตะก๊ะ” ซึ่งเป็นคนที่ชาวบ้านนับถือ หมู่บ้านละ 1 คน ช่วยท่านทำหน้าที่ดังกล่าว เมื่อครูบาฯ มรณภาพในปี พ.ศ. 2543 ผู้นำชุมชนได้กำหนด “กฎประชาคมในการดำรงอยู่ร่วมกันของหมู่บ้าน” เพื่อการดำรงอัตลักษณ์ของชุมชน โดยมีโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนตั้งแต่การปรับเงินจนถึงขับออกจากหมู่บ้าน ปัจจัยที่ทำให้การดำรงอัตลักษณ์ของชุมชนยังเกิดขึ้นต่อเนื่องได้แก่ ความเคารพศรัทธาในตัวผู้นำ โครงสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และกระแสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม

Article Details

How to Cite
สารพุทธิ ก., & เจริญพร ช. (2022). การดำรงอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ กรณีศึกษาชุมชนปกาเกอะญอ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1696–1708. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/250259
บท
บทความวิจัย

References

Fuengfoosakul A. (2003) Identity: Review of theories and concepts (1st Ed) Bangkok : National
Research Council Committee. Sociology Office of the National Research Council of Thailand.
Keyes, Charles F. (1982). The Death of Two Buddhist Saints. Journal of the American Academy of Religion, Thematic Studies 4, pp. 3-4.
Nartsupha, C. (2014). The modernization in Thailand by implement community-based
concept. (3rd Ed). Bangkok : Darnsutha Press Co., Ltd.
Panyagaew W. (2018). Remembering Khruba Srivichai, 140 Years Anniversary. Editorial. Chiang
Mai : Chiang Mai University Press.
Suksamran, S. (1987). Buddhist development: a case study of the developer monks. (1st Ed).
Bangkok : Pim Suay Company Limited.
Suksamran, S., Rattanamongkolmas, S., Nakwatchara, N., & Samudavanija, C. (1987). Chinese
Community : Continuity and Change. Research report to the Research Department
Chulalongkorn University. Bangkok : Chulalongkorn University