แนวทางการบริหารจัดการด้านการเงินเชิงพุทธบูรณาการของกลุ่มสตรี ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

เจริญจิต งามทิพยพันธุ์
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทสภาพปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการด้านการเงินของกลุ่มสตรีตำบลสวาย 2) เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีปฏิบัติการบริหารจัดการด้านการเงินในมุมมองพระพุทธศาสนาเถรวาท 3) เพื่อพัฒนาและนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการด้านการเงินเชิงพุทธบูรณาการของกลุ่มสตรีตำบลสวาย อำเภอ ปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีการสัมภาษณ์ 32 ท่านการร่วมสนทนากลุ่มเฉพาะ 9 ท่าน และการฝึกอบรมปฏิบัติการ 20 ท่าน จากนักวิชาการพระพุทธศาสนา นักการเงินการบัญชี กลุ่มสตรีจิตอาสา นำเสนอผลวิจัยเชิงพรรณนา


          ผลการวิจัยพบว่า 1. บริบทการบริหารจัดการด้านการเงินของกลุ่มสตรีตำบลสวาย พบว่า การดำเนินการเกี่ยวกับการเงินยังไม่เป็นระบบ ขาดความมั่นใจ ไม่มีแรงจูงใจ มีหนี้สิน ขาดทักษะ ขาดวินัย ในการใช้เงิน ไม่มีการวางแผน ขาดความเข้าใจและกา ตระหนักรู้ด้านการเงินการบัญชี 2. แนวคิด และวิธีปฏิบัติการบริหารจัดการด้านการเงินในมุมมองพระพุทธศาสนาเถรวาท พบว่า  การแสวงหาและรักษาทรัพย์ยึดหลักทิฏฐธัมมิกัตสังวัตตนิกธรรม คือ (1) ขยันหมั่นเพียร (2) เก็บรักษาคุ้มครองโภคทรัพย์ (3) คบหาคนดีเป็นมิตร (4) ต้องรู้จักใช้จ่ายให้เหมาะสม และ หลักกุลจิรัฏฐิติธรรม คือ (1) ของหายของหมด ต้องรู้จักหามาไว้(2) ของเก่าของชำรุด ต้องรู้จักบูรณะซ่อมแซม (3) ต้องรู้จักประมาณในการกินการใช้ (4) ตั้งผู้มีศีลธรรมเป็นพ่อบ้านแม่เรือน ส่วนการบริหารจัดการทรัพย์ ต้องยึดหลัก โภควิภาค คือ (1) แบ่ง 1 ส่วนเพื่อใช่จ่าย และสงเคราะห์คนรอบข้าง (2) แบ่ง 2 ส่วนเพื่อลงทุน (3) แบ่ง 1 ส่วนเพื่อเก็บออมไว้  3. แนวทางการบริหารจัดการด้านการเงินเชิงพุทธบูรณาการของกลุ่มสตรีตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า หลักการการจัดทำบันทึกบัญชีครัวเรือน แบ่งเป็น 4 ส่วน คือ 1 ส่วนเพื่อใช้จ่าย 2 ส่วนเพื่อลงทุน 1 ส่วน เพื่อเก็บออม และเหตุปัจจัยสนับสนุนทำให้เกิดความมั่นคง คือ ต้องขยันหา ต้องรู้จักเก็บรักษา ต้องรู้จักคบหา คนดี และต้องรู้จักใช้จ่าย ตารางบัญชีครัวเรือนมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 คือ 1) รายได้ 2) ค่าใช้จ่าย 3) หนี้สิน 4) คงเหลือ และ รายการ 10 คือ 1) วันที่ เดือน ปี 2) รายการ 3) รายรับ 4) รายจ่าย 5) หนี้สิน 6) เงินฝากออมเก็บ 7) กำไร 8) ขาดทุน 9) คงเหลือ 10) วิเคราะห์ ข้อมูลด้านการเงินจะเป็นประโยชน์มีคุณค่าก็ต่อเมื่อเจ้าของบัญชีต้องปรับเปลี่ยนมุมมอง ค่านิยม และพฤติกรรมด้วยจึงจะประสบความสำเร็จด้านการเงิน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aksornsie, P. (1997). Factors Affecting Consumption Behavior according to Buddhist Economics: A Case Study of Rajabhat Institute Petchburivittayalongkorn. (Term Paper). Bangkok: Department of Social and Environmental Development.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Phra Dhampiṭaka (P.A.Payutto). (1988). Sustainable development. Bangkok: Komol Kiamthong.

Phramaha Dhammarat Ariyadhammo. (1999). An Analytical Study of the principles of political science in Tripitakas. (Master’s Thesis). Graduate School: Mahamakut Buddhist College. Nakhon Pathom.

Phramaha Sa-ngar Pholsongkran. (1999). A comparative study of Buddhist economics and sufficiency economy in Thai society. Master's thesis. Program in of Comparative Religion. Faculty of Arts: Mahidol University. Nakhon Pathom.

Tantivejkul, S. (2001). Under the King's Footsteps. Bangkok: Matichon Publishing House.

Raweewan, C. (2012). A model study of Trading and Taxation in Theravada Buddhist scripture. (Master’s Thesis). Mahachulalongkorn University. Ayutthaya.

Sawai Sub-district Women Group, (2020). Focus Group, Round 1 for preliminary area data survey. July, 6.

Sawai Sub-district Women Group, (2020). Focus Group, Round 2 for discuss perspectives and household accounts. July, 27.

Srilert, S. (2020). Teacher of Tha Koi Nang Village School, Sawai Subdistrict. Focus Group of experts. September, 7.

Suphasorn, P. (2020). Director of Special Buddhism Program. Interview. August, 15.