วาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโท และศิษยานุศิษย์ กับการสร้างสรรค์สังคมเพื่อความสงบสุข

Main Article Content

ภิชญาพร อยู่คล้ำ
สุนทร วรหาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารวบรวมจัดจำแนกเผยแผ่วาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโท และศิษยานุศิษย์ 2)เพื่อศึกษาวาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา สุภัทโท และศิษยานุศิษย์กับการสร้างสรรค์สังคมเพื่อความสงบสุขของสังคม โดยมุ่งศึกษาเฉพาะหลวงปู่ชา สุภัทโท และหลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธัมโม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นเอกสารและลงพื้นที่สัมภาษณ์กลุ่มประชากร ผู้ปฏิบัติธรรม พระสงฆ์ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา วัดหนองป่าพง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี วิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบพรรณาวิเคราะห์


ผลการศึกษาพบว่า วาทกรรมคำสอนของหลวงปู่ชา และพระราชภาวนาวกรม มีลักษณะคำสอนที่คล้ายกัน สามารถจำแนกลักษณะคำสอนออกเป็น 7 ลักษณะได้แก่ 1.วาทกรรมคำสอนเกี่ยวกับสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน 2.วาทกรรมคำสอนเนื้อความเกี่ยวกับธรรมะของพระสัมมาพุทธเจ้า 3.วาทกรรมที่สอนด้วยยกตัวอย่างเปรียบเทียบอุปมาอุปไมย 4.วาทกรรมที่เป็นคำง่ายตรงกับเนื้อหาของเรื่อง 5.วาทกรรมที่ใช้สอนด้วยวิธีปฏิบัติ 6.วาทกรรมที่สอนด้วยวิธีสนทนาถาม-ตอบ และ 7.วาทกรรมที่ใช้อารมณ์ขัน วาทกรรมคำสอนของ หลวงปู่ชา สุภัทโท และหลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธัมโม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ล้วนมีคุณค่าทางสังคมเพราะทุกคำสอนมีบทบาทในการสร้างสรรค์สังคมให้สงบสุข คือ 1.ทำให้พุทธศาสนิกชนเข้าใจถึงแก่นธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2.ทำให้เกิดทายาทธรรมทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 3.ทำให้เกิด ศาสนพิธีหรือกิจกรรมด้านพุทธศาสนาในสังคม 4.มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยเป็นแบบอย่างที่ดีและทำให้มีการขยายสาขาทั้งในและต่างประเทศ และ 5.ทำให้เกิดจิตอาสาในการช่วยงานสร้างสรรค์สังคมและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bannaruji, B. (1995). Questions Book. Bangkok: Pornboon Printing.

Charoensinolarn,C.(2006). Discourses of Development: Power Knowledge Truth. Bangkok: Publisher Language.

Friclough, N. (2003). Analyzing Discourse: Textual analysis for social research. (1st ed.). London: Routedge.

Kulsuwan, K. (2010). The Hortatory Discourse of Buddhadasa Bhikkhu. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Mahasarakham.

Lapyai, R. (2014). Dharma Teaching Discourse in Dharma Speech of Phra Dharmakosajarn. (Doctoral Dissertation). Kesetsart University. Bangkok.

Na Ubon, B. (2004). The story of Ubon Ratchathani. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University Press.

Phra Bodhiynathera (Chah Subhaddo). (2002). The Answers from Venerable Ajahn Chah Subhaddo. (7th ed.). Bangkok: October Printing.

Phra Bodhiynathera (Chah Subhaddo). (2004). Beyond Reason. (6th ed.). Bangkok: October Printing.

Phra Bodhiynathera (Chah Subhaddo). (2014). Patipada BraBhodhiyana. (4th ed.). Nonthaburi: Mata Karnpim.

Phra Bodhiynathera (Chah Subhaddo). (2015). Wisdom from Obstacles. (2nd ed.). Ubon Ratchathani: Siritham Offset.

Phra Bodhiynathera (Chah Subhaddo). (2017). Food for Mind. (6th ed.). Bangkok: October Printing.

PhraRajabhavanavikrom (Leam Thitadhammo). (2004). The Scent of Buddhist Monk. Ubon Ratchathani: Witthaya Offset Printing House.

PhraRajabhavanavikrom (Leam Thitadhammo). (2006). No Worries. Ubon Ratchathani: Siritham Offset.

Phramahavijanasuvino. (2000). A Study of Bhuddhist Personael Training Process of Phrabodhinanathera (Cha Subhaddo). (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Woraharn, S. (2005). Narative of Royal Temple in Ubon Ratchathani: The Increase of Cultural Asset to Enhance Tourism Value to Prepare for AEC. (Research report). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.