ศึกษาวิเคราะห์พืชพรรณเชิงภูมิสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก

Main Article Content

อรอำไพ สามขุนทด
ศนิ ลิ้มทองสกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพืชพรรณที่ปรากฏในพระไตรปิฎก 2) วิเคราะห์พืชพรรณในเชิงภูมิสถาปัตยกรรม บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยมีพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นแหล่งข้อมูลหลัก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า ในพระไตรปิฎกปรากฏข้อมูลเกี่ยวกับพืชพรรณหลากหลายชนิดในบริบทที่แตกต่างกันไป สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่ม คือ พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติและสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้า พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับสถานที่ พืชพรรณที่ปรากฏในชาดกเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมของวิมานและอาศรม พืชพรรณที่มีการนำมาใช้ประโยชน์เป็นเครื่องใช้ อาหาร น้ำ ยา หรืออื่นๆ พืชพรรณที่เกี่ยวข้องกับคำสอนและการเปรียบเทียบ เป็นการจัดกลุ่มโดยอิงกับลักษณะทางกายภาพหรือสภาพแวดล้อมเป็นหลัก ส่วนการวิเคราะห์พืชพรรณในเชิงภูมิสถาปัตยกรรม เน้นที่การจำแนกพืชพรรณตามลักษณะทางกายภาพเพื่อผลในการนำไปใช้ในงานออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ทั้งการออกแบบวางผังบริเวณ การสร้างพื้นที่ ทัศนภาพ เป็นต้น แบ่งได้ 5 ประเภท คือ ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน ไม้เลื้อย ไม้น้ำ พืชพรรณที่มีจำนวนมากที่สุดคือไม้ยืนต้น ดังที่ปรากฏในพระไตรปิฎกมักจะมีการเข้าไปใช้งานใต้ไม้ยืนต้นเช่นการตรัสรู้ใต้ต้นไม้ของพระพุทธเจ้า การวิเคราะห์พืชพรรณที่สัมพันธ์กับที่ว่างและการใช้งาน ประกอบด้วย บริเวณโคนไม้ พื้นที่ป่า อุทยานหรือสวนป่า และบริเวณที่มีบรรยากาศน่ารื่นรมย์ แสดงให้เห็นถึงการจัดพืชพรรณเพื่อการใช้ประโยชน์พื้นที่และสร้างบรรยากาศให้แก่สภาพแวดล้อม ผลสรุปจากงานวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลประกอบการออกแบบวางผังปรับภูมิทัศน์วัดหรือสถานที่เนื่องในพระพุทธศาสนาได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
สามขุนทด อ., & ลิ้มทองสกุล ศ. (2021). ศึกษาวิเคราะห์พืชพรรณเชิงภูมิสถาปัตยกรรมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(4), 1610–1624. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249933
บท
บทความวิจัย

References

Arayanimitsakul, C. (2015a). Introduction to Landscape Architecture. Bangkok: CU Print.

Arayanimitsakul, C. (2015b). Plants in Landscape Architecture. Bangkok: CU Print.

Boonkham, D. (2009). Site Planning and Site Work. Bangkok: Chula Press.

Cheykiwong, U. (2008). Trees in Buddhism. Bangkok: Sermpanya.

Harris, C. M. (2006). Dictionary of Architecture & Construction. (4th ed). New York: McGraw-Hill.

Harris, C. W., & Dines, N. T. (1998). Time-Saver Standards for Landscape Architecture: Design and Construction Data. (2nd ed). U.S.A.: McGraw-Hill.

Klinhom, U. (2018). Herbs in Tipitaka. Bangkok: Thai Holistic Health Foundation.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Nanakorn, W. (2019). Plants in Buddhist History. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Sawangying, S. (2010). The Study of the Doctrinal Consummation Regarding the Trees in Buddhist Texts. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Siriphanich, S. (2015). Fundamental Landscape. (2nd ed). Nakhonpathom: Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen and Department of Horticulture, Faculty of Agriculture at Kamphaeng Saen, Kasetsart University Kamphaeng Saen Campus.

Smitinand, T. (2014). Thai Plant Names. (Revised ed). Bangkok: Forest Herbarium, Forest and Plant Conservation Research Office, Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation.

Sukawattana, K. (1995). Thai Garden. Bangkok: ESP Print.

Veesommai, U., Siriphanich, S., Menakanit, A., & Pichakum, N. (1999). Plants for Landscape Architecture in Thailand. (2nded). Bangkok: Thai Association of Landscape Architects.