เครือข่ายพระสงฆ์ลาว: กระบวนการสร้างชุมชนและทุนทางสังคมในสังคมไทย

Main Article Content

สายชล ปัญญชิต
พฤทธิ์ ศุภเศรษฐศิริ
ชลวิทย์ เจียรจิตต์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) ศึกษากระบวนการสร้างชุมชนพระสงฆ์ลาว ในสังคมไทย 2) ศึกษากระบวนการก่อตัวของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย และ 3) วิเคราะห์การส่งต่อทุนทางสังคมของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย โดยใช้วิธีการศึกษาวิจัยแบบผสมผสานโดยการวิจัย เชิงปริมาณใช้การเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามและวิเคราะห์สถิติแบบพรรณนาใน การอธิบายข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพได้ใช้การเก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือการวิจัยคือการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสนทนากลุ่มย่อยเพื่อสามารถทำความเข้าใจกระบวนการก่อตัว ของเครือข่ายและการสร้างทุนทางสังคม ผลการศึกษาพบว่า ประการหนึ่ง ปัจจัยที่เป็นกระบวนการสร้างชุมชนพระสงฆ์ลาวประกอบด้วย การใช้ความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมและพระพุทธศาสนา ระบบความสัมพันธ์ภายใต้การอุปถัมภ์ของรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง การมีระบบกิจการนิสิตนักศึกษาและการพัฒนาความสัมพันธ์ต่างประเทศของมหาวิทยาลัยสงฆ์ และความต้องการฟื้นฟูและสนับสนุนการรักษาพระพุทธศาสนาในสังคมไทย ประการที่สอง กระบวนการก่อตัว ของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย เกิดขึ้นจากกระบวนการที่สำคัญคือการผลักดันจากชมรมพระนิสิตนักศึกษาลาวของมหาวิทยาลัยสงฆ์ การได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และการสนับสนุนจากพระสังฆาธิการของสังคมไทย และประการที่สาม การสามารถส่งต่อทุนทางสังคมของเครือข่ายพระสงฆ์ลาวในสังคมไทย จะแสดงออกผ่านโครงข่ายความสัมพันธ์ที่สมาชิกในเครือข่ายพระสงฆ์ลาวสร้างขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนหรือองค์กรในสังคมไทย ซึ่งพระสงฆ์ลาวสามารถส่งต่อภายในเครือข่ายจากการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระสังฆาธิการของไทยนำไปสู่การพัฒนาให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ที่เป็นประโยชน์กับสมาชิกของพระสงฆ์ลาวที่อยู่ในสังคมไทยอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สายชล ปัญญชิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สายชล ปัญญชิต
อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

References

ASEAN Studies Center Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). Buddhism in ASEAN. Nonthaburi: Chenprinting.

Cadge, W., & Sangdhanoo, S. (2005). Thai Buddhism in America: An Historical and Contemporary overview. Contemporary Buddhism, 6(1), 7-35.

Chantavanich, S. ( 2009) . Data analysis in qualitative research. Bangkok: Chulalongkorn University.

Coleman, J. S. (1 98 8). Social Capital in the Creation of Human Capital. American Journal of Sociology, 94(1), 95-120.

Fukuyama, F. (2 0 0 1 ) . Social Capital, Civil Society and Development. Third World Quarterly, 22(1), 7-20.

Hayashi, Y. ( 2003) . Practical Buddhism among the Thai-Lao: Religion in the Making of a Region. Bangkok: Chulalongkorn University.

High, H. (2008). Dreaming Beyond Borders: the Thai/Lao Borderlands and the Mobility of the Marginal. In On the Border of State Power: Frontier in the Greater Mekong Sub-Region. Edited by Martin Gainsborough. New York: Routledge.

Jackson, O. M. (2020). The Human Network. London: AtLantic Books.

Mishra, S. (2020). Social Networks, Social Capital, Social Support and Acedemic Success in Higher Education: A Systematic Review with a Special Focus on “Underrepresented” Students. Educational Research Review, 29, 1-24.

Pawakapan, N. (2015). Discuss on Nation and Ethnics. Bangkok: Siam Publishing.

Registration and Education Evaluation Office Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2020). The Statistic of Foreign Student Mahachulalongkornrajavidyalaya University 2020. Phra Nakhon Si Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Rungmanee, S. (2015). Unravelling the Dynamics of Border Crossing and Rural-to-Rural-to Urban Mobility in the Northeastern Thai–Lao Borderlands. In Development and Modernity in Laos. Edited by Chayan Vaddhanaphuti, and Soimart Rungmanee. Chiangmai: Center for ASEAN Studies of Chiang Mai University.

Sangkhamanee, J. (2018). Limology. Bangkok: Siam Publishing.

Urry, J. (2010). Mobile Sociology. The British Journal of Sociology, 61(1), 347-366.