อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

Main Article Content

เจตนิพัทธ์ พิธิยานุวัฒน์
สิริกร อมฤตวาริ
กีรติ บุญเจือ
เอนก สุวรรณบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์และวิธานอุเบกขาตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเพื่อการอธิบายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ใช้วิธีวิจัยทางปรัชญา ได้แก่ วิภาษวิธีเพื่อแลกเปลี่ยนเหตุผลระหว่างสองฝ่ายคือฝ่ายกระบวนทรรศน์ปรัชญานวยุคและฝ่ายกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง กระบวนการคิดไตร่ตรองเพื่อแสดงเหตุผลเชิงวิพากษ์ ประเมินคุณค่าและการประยุกต์ใช้ และการตีความเชิงปรัชญาของกาดาเมอร์ตามทฤษฎีการหลอมรวมครอบฟ้าเพื่อสรรหาแนวคิดร่วม วิเคราะห์และนำเสนอแบบเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า วิจักษ์มีทรรศนะว่าอุเบกขาควรตีความตามกระบวนทรรศน์นวยุคย่อมทำให้มี การจำแนกแยกประเภทที่ชัดเจนเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง มีการอธิบายขยายความตามศัพท์ ตามธรรม และการตีความภาษาสามัญตามกระบวนทรรศน์ยุคกลางย่อมจะชี้แจงและขจัดอัญญานุเบกขาเป็นสำคัญทั้งโดยอรรถและโดยธรรมเพื่อนำไปสู่การเผยแผ่คำสอนอันจะนำไปสู่การปฏิบัติธรรมเพื่อเป้าหมายสำคัญคือการบรรลุธรรม ซึ่งกระแสคิดดังกล่าวยังมีจุดอ่อนเนื่องจาก กระบวนทรรศน์ปรัชญานวยุคและกระบวนทรรศน์ปรัชญา ยุคกลางยังมีความยึดมั่นถือมั่นในคำอธิบายอันเกิดจากจุดอ่อนอย่างสำคัญ การตีความใหม่ด้วยกระบวนทรรศน์หลังนวยุคสายกลางเพื่อแสดงคุณภาพของอุเบกขา จากการหลอมรวมของขอบฟ้าทางความคิดที่ได้จากตำราในพุทธศาสนา ตำราปรัชญาต่างๆ และจากการปฏิบัติธรรม เพื่อแสดงสารัตถะ กระบวนการเกิดและความสัมพันธ์ของกายและจิตของการปฏิบัติ โดยอธิบายอุเบกขาตามภาวะในตนเป็น 3 ระดับ ได้แก่ อุเบกขาระดับนิ่ง ระดับวางและระดับปล่อย

Article Details

How to Cite
พิธิยานุวัฒน์ เ., อมฤตวาริ ส., บุญเจือ ก., & สุวรรณบัณฑิต เ. (2021). อุเบกขากับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(5), 2051–2063. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249853
บท
บทความวิจัย

References

Boonchuea, K. (2018). Introduction to Philosophy and Ethics. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Buddhadasa Bhikkhu. (1988). Dharma and intuition. Bangkok: Mind Health.

Buddhadasa Bhikkhu. (2000) Dharmabutr camp. (2nd ed.). Bangkok: Thammatan Foundation.

Bodharamik, N. ( 2018) . The Vales of Brahmaviharas in Thai Society. Journal of Arts Management, 2(1), 1-10.

Phithiyanuwat, C, Bunchua, K., & Amalitwarin, S. (2020). UPEKKHA and the Development of Quality of Life, Processing 11th International Academic Conference "Global Goals, Local Actions: Looking Back and Moving Forward 2020" pp. 120-125, Graduate school Suan Sunandha Rajabhat University.

Kawija, T., & Laping, U. (2018). Application of The Brahmavihara Principles In Teaching of The Teachers of Municipal School1, Ban Klang, Mueang District, Lamphun Province. Journal of Buddhist Studies, 9(2), 115-132.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Mokarat, B. (2017). The Relationship between Brahmavihāra and Ethics of Teacher towards Students, Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus, 4(1), 1-14.

Morrow, R.A., & Brown, D.D. (1994). Critical Theory and Methodology. New York: SAGE Publications.

Phra Kampon Ayutho (Iamamporn). (2011). An analysis study of the divine nature in Theravada Buddhism. Study only the case of practicing the virtue of Brahma. (Master's Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Bangkok.

Phra Dhammapitaka P. A. Piyutto. (1999). From happiness in the home to the prosperity of society. (3rd ed.) Bangkok: Saha Thamik Company Limited.

Phrapalad Somchai Payogo, PhraKrupipithpariyattikit,Phrametheepariyuttbviboon, & PhraThanat Vaddhano. (2016). The Analytical Study of Upekkha Parami in Narada Jataka, Journal of Peace Studies, 4(1), 10-26.

Pansuwan, A. (2017). Intergrating Buddhist Principles into the Minds of new Age Executives. Journal of MCU Social Sciences Journal, 6(4), 100-115.

Tonglek, S. (2019). Thinking wisely, Dialectical method: Socrates. The Journal of Research and Academics, 2(2), 135-148.

Tanupan, N. ( 2017). An Analytical Study of the Phra Annakondhanna Thera and Phra Mahapajapati Theri. Academic MCU Buriram Journal, 2(2), 1-10.