รูปแบบการพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบตามแนวพุทธสันติวิธี: กรณีศึกษา อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบตามศาสตร์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบตามแนวพุทธสันติวิธี และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบตามแนวพุทธสันติวิธีของอำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เป็นการวิจัยแบบวิจัยพัฒนา ลงพื้นที่ และจัดสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 รูป/คน ก่อนทดลองกลุ่มเป้าหมาย 30 คน มีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 รูป/คน การวัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม และเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ปัจจุบันมีปัญหาเกิดขึ้นกับเยาวชนเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในจังหวัดตรัง อาทิ ขาดความรับผิดชอบ เห็นแก่ตัว ขาดความกตัญญูกตเวที เพราะความหลากหลายด้านของวัฒนธรรม ศาสนา และประเพณี การพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบสันติภาพจึงเป็นเสมือนสายใยทางสังคมอันจะเป็นตัวเชื่อมโยงคนในสังคมให้มีความสามัคคีปรองดองและเกิดสันติสุขทั้งในจิตใจและสังคม 2) การพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบสันติภาพ มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจด้านสันติภายใน การจัดการความขัดแย้งด้วยพุทธสันติวิธี ด้วยเครื่องมือพัฒนาตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท คือหลักสังคหวัตถุธรรมประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และ สมานัตตา 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาผู้นำเยาวชนจิตอาสาต้นแบบตามแนวพุทธสันติวิธีด้วย M-V-P-U-T-C MODEL โดยมีกระบวนการพัฒนา 6 ด้าน คือ 1. การสร้างสันติภายใน 2. จิตอาสาต้นแบบ 3) เครื่องมือพุทธสันติวิธี 4. ความเข้าใจความต่างแบบพหุวัฒนธรรม 5. ทำงานเป็นทีมและผู้นำ 6. สื่อสารสารสนเทศ เกิดผลลัพธ์เป็น ภาวิต 4 คือ พัฒนากายสงบจนครบสิ้น พัฒนาศีลสมบูรณ์เพิ่มพูนค่า พัฒนาจิตใกล้ชิดกับศรัทธา พัฒนาปัญญาแจ่มแจ้ง
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Dudsdeemaytha, J. (2014). The development of indicators of self-happiness of people in the district Bangkok., the 8th National Academic Conference "SWU Research" (2014, November 26-27. Bangkok: Srinakharinwirot University.
Ekkapetch, C. (2018). Leader & Leadership. Retrieved March 8, 2020, from https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/06/
Konnikova, M. (2012). The Power of Concentration. New York: New York edition, Section SR.
Learntripitaka. (2020). Sangkhahawatthu 4 Meaning. Retrieved April 29, 2020, from http://www.learntripitaka.com/scruple/sank4
Office of the Education Council. (2016). Formulate educational development policy proposals (Research Report). Bangkok: Bureau of Educational Standards and Learning Development Press.
Office of the National Economic and Social Development Council. (2010) . Annual Meeting Documents 2010 of NESDB on direction of development plan, issue 11. Nonthaburi: IMPACT Exhibition Center.
Phra Dharmakosajarn. (Prayoon Dhammajitto). (1999). Human development and human resource development. (1st ed.). Bangkok: Education Testing Bureao.
_______. (2016). The principle of personal development. (28th ed.). Bangkok: MCU Press.
Phramaha Hansa Dhammahaso. (2011). Peaceful Buddhism: Integrating Conflict Management Principles and Tools. (1st ed.). Bangkok: 21 Century.
PhoNok, J. (2021). Multicultural. Retrieved March 16, 2020, from https://www.dailynews.co.th/article/236022&prev=search&pto
Silverstone, R., Hirsch, R., & Morley, D. (1991). Listening to a long conversation: an ethnographic approach to the study of information and communication technologies in the home. Cultural Studies, 5(2), 204-227.
Tansut, P. (2018). Public Mind Meaning. Retrieved April 29, 2020, from https://op.chandra.ac.th/dsd/images/File/KM/2561/10/KM_31102561_01.pdf