การพัฒนากระบวนการสอนพุทธธรรมในโรงเรียนด้วยพุทธศิลป์: กรณีศึกษาครูโรงเรียนในตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

มาลินี ยมกวาง
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบท สภาพปัญหา วิเคราะห์ความต้องการด้านการสอนพุทธธรรมของโรงเรียนในตำบลสวาย และทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนากระบวนการสอนพุทธธรรมด้วยวิธีการทางพุทธศิลป์ และ 3) นำเสนอการพัฒนากระบวนการสอนพุทธธรรมในโรงเรียนด้วยพุทธศิลป์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบ R&D โดยศึกษาเอกสาร ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 21 รูป/คน การสนทนากลุ่มเฉพาะผู้ทรงคุณวุฒิ 8 ท่าน ทดลองกับครูสอนวิชาพระพุทธศาสนาจาก 4 โรงเรียนในตำบลสวาย จำนวน 15 รูป/คน การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวัดระดับความพึงพอใจด้านความรู้ความเข้าใจ และสังเกตวิธีการสอนของครูผู้เข้ารับการอบรม ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบท ปัญหาการสอนพุทธธรรม ความต้องการ เกิดจากครูผู้สอนขาดความเข้าใจ ขาดทักษะและการวิเคราะห์ ขาดประสบการณ์ ไม่สามารถเชื่อมโยงพุทธธรรมกับปัจจุบัน เน้นท่องจำ 2) การพัฒนากระบวนการสอนพุทธธรรมด้วยวิธีการใช้พุทธศิลป์ พบว่าพุทธศิลป์คือเครื่องมือการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เปลี่ยนจากนามธรรมไปเป็นรูปธรรมที่มองเห็นและสัมผัสได้ ช่วยโน้มน้าวจิตใจให้เกิดศรัทธาเชื่อมั่น มีฉันทะ และอิทธิบาท 3) องค์ประกอบของการพัฒนากระบวนการสอนพุทธธรรมด้วยพุทธศิลป์ ประกอบด้วย 6 ด้าน ตามกรอบแนวคิด I-T-S-T-A-P MODEL ดังนี้คือ “I” หมายถึงสันติภายใน “T” หมายถึงผู้สอนพุทธธรรม “S” หมายถึงทักษะการสอนพุทธธรรม “T” หมายถึงเครื่องมือและวิธีการสอนพุทธธรรม “A” หมายถึงพุทธศิลป์ “P” หมายถึงกระบวนการสอนพุทธธรรม มี 5 ขั้นการเรียนรู้ คือ ขั้นฝึกสติ ขั้นพัฒนาเข้าสู่พุทธธรรม ขั้นสร้างสรรค์ศิลปะและพุทธธรรม ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันประสบการณ์ และขั้นสรุปประยุกต์สู่การเรียนการสอนกระบวนการสอนพุทธธรรมด้วยพุทธศิลป์ ช่วยแก้ปัญหาการสอนพุทธธรรมได้ ครูสามารถประยุกต์ใช้ในการสอน เกิดการพัฒนาตนเองและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Child and Youth Development Promotion Committee, National Child and Youth Development Plan 2017 – 2021 (Incorporating the 2nd National Child and Youth Development Action Plan 2017-2021). (2nd ed.), Bangkok: J.S. Printing.

Inthasara, W. (2014). Buddha’s Teaching Medthods. Bangkok: Tummada Publishing.

Jaitieng, A. (2003). Teaching Principles. Bangkok: Odeon Store Publishing.

Katumarn, P. (2018). Positive Psychology and Transformative Learning. Retrieved August 16, 2020, from https://drpanom.wordpress.com/2018/10/17.

Katumarn, P. (2020). Coaching and Mentoring for Teachers. Retrieved August 16, 2020, from https://drpanom.wordpress.com/2020/08/03/coaching-and-mentoring-for-teachers-2/.

Nissley, N. (2010). Arts based Learning at Work: Economic Downturns, Innovation Upturns. and the Eminent Practicality of Arts in Business. Journal of Business.

Onsri, J. (2003). ACTIVE LEARNING to learning in the 21st century. Academic Journal, 6(9), 11-16.

Panich, V. (2012). 21st Century Skills. Bangkok: Tathata Publication Co. Ltd. Press.

Saijai, K. (2017). Buddhism Art and Knowledge Management. Special article, Journal of Humanities and Social Sciences Ratchapruek University, 3(1), 1-10.

Seligman, M. (2002). Positive psychology. Retrieved August 16, 2020, fromhttps://positivepsychology.com/what-is-positive-psychology-definition/.

Somdej Phra Yanasamvara (Charoen Suvaddhano). (1991). Wisdom in Buddhism. Retrieved August 16, 2020, from http://www.openbase.in.th/files/ebook/sangh/set2/sangharajaa004.pdf.

Suthasinobol, K. (2017). Consciousness and Ethics Professional Teacher. Bangkok: Commercial World Media Co. Ltd.

Whattananarong, K. (2013). Technology of Instruction. Retrieved August 16, 2020, from https://www.thairath.co.th/content/336124.

Yakman, G. (2006). STEAM education. Retrieved August 16, 2020, from http://www.academia.edu/33856479/STEAM_Education_Professional_Development_Practicum_and_Research