การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เกมคุณธรรม เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

ขวัญวรา วงค์คำ
จารุณี ทิพยมณฑล
ชรินทร์ มั่งคั่ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เกมคุณธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เกมคุณธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/9 โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 45 คน โดยเลือกแบบเจาะจงเพราะนักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการไม่เป็นพลเมืองดี และเล่มเกมเป็นประจำ เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เกมคุณธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา จำนวน 7 แผน รวมทั้งหมด 20 ชั่วโมง และแบบทดสอบความเป็นพลเมืองดี แบบอัตนัย จำนวน 5 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและเรียบเรียงเพื่อนำเสนอเชิงพรรณนา โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) จากแบบประเมินความสอดคล้องของความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ และข้อมูลจากการทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลจากการเรียนรู้ได้แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 7 แผน รวมจำนวน 20 ชั่วโมง ได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง ขั้นนำเศรษฐกิจพอเพียง แผนจัดการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง ความพอประมาณ แผนจัดการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง ความมีเหตุผล แผนจัดการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง ความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี แผนจัดการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง เงื่อนไขความรู้ แผนจัดการเรียนรู้ที่ 6 เรื่องเงื่อนไขคุณธรรม และแผนจัดการเรียนรู้ที่ 7 เรื่อง การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง มีผลประเมินความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับ 0.79 – 0.87 ซึ่งมีความเหมาะสมมาก 2) ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เกมคุณธรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษาทั้ง 7 แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าผลการเรียนรู้หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05




Article Details

How to Cite
วงค์คำ ข., ทิพยมณฑล จ., & มั่งคั่ง ช. (2021). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้เกมคุณธรรม เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองดีของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 737–749. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249633
บท
บทความวิจัย

References

กระมล ทองธรรมชาติ. (2547). แบบเรียน หน้าที่พลเมือง. สำนักพิมพ์วัฒนาพาณิชย์, อักษรเจริญทัศน์
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). แนวการจัดกิจกรรมและสื่อการสอนระดับก่อนประถมศึกษา.
กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย. พุทธศักราช 2540 กรุงเทพฯ :
คุรุสภาลาดพร้าว.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2540 กรุงเทพฯ :
คุรุสภาลาดพร้าว.
คะนึงนิตย์ ศรีบัวเอี่ยม. (2543) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประชาสังคม.
เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 2. (อัดสำเนา)
คะนึง สายแก้ว. (2542). การจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษาที่มีต่อความพร้อมทางด้านสติปัญญาของ
เด็กปฐมวัย. งานวิจัยครุศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2560). อุดมคติวิทยาหลักสูตรสังคมศึกษาเพื่อปวงขน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). องค์ความรู้หลักสูตรและการสอนสังคมศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย
ชลันดา สาสนทาญาติ. (2540). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดู การสนับสนุนทางสังคม
การบรรลุงานตามขั้นพัฒนาการ และพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่นในภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาพัฒนาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. (อัดสำเนา)
ฉันทนา มุติ. (2540) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการอบรมเลี้ยงดูการสนับสนุนทางสังคมการบรรลุงาน
ตามขั้นพัฒนาการและพฤติกรรมพลเมืองดีของวัยรุ่นภาคใต้. วิทยาพนธ์มหาบัฒฑิต มหาวิทยาลัย
รามคำแหง. (อัดสำเนา)
ทศพร เลาหะเพ็ญแสง. (2546). กระบวนการเรียนรู้จากการเล่นของนักเรียนอนุบาล 1. วิทยานิพนธ์
ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์. (2543). การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประชาสังคม. เอกสาร
ประกอบการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 2. (อัดสำเนา)
สุวิทย์ – อรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.กรุงเทพฯ : บริษัทดวง
กลมสมัย จำกัด
เนาวนิตย์ สงคราม. (2557). การศึกษานอกสถานที่และการศึกษานอกสถานที่เสมือเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก.
กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
บุหงา วัฒนะ. (2546) “Active Learning” วารสารวิชาการ 6. หน้า 19 ,30-34
ปรีชาญ เดชศรี. (2545). การเรียนรู้แบบ Active Learning ทำได้อย่างไร. วารสารการศึกษาวิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยี 30 (มกราคม-กุมภาพันธ์) : 53-55.
ผานิช ล่ามกิจจา. (2545). ผลความสนใจในการเล่นการศึกษาชุดตาวิเศษของนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 1.
การค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : เอพีกราฟฟิกส์ดีไซน์.
ราชบัณฑิตตยสถาน. (2546). เอกสารการสอนการวัดผลและประเมินผลการศึกษาหลักสูตร. กรุงเทพฯ :เอก
เพรสมีเดีย
วารี ถิระจิตร. (2530) การพัฒนาการสอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ :คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัฒนาพร ระงับทุกร์. (2542) แผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงทพฯ : บริษัทแอล พี เพรส จำกัด
วไลพร คุโณทัย. (2530). หลักการสอน. กรุงเทพฯ : กองส่งเสริมวิทยฐานะครู กรมการฝึกหัดครูศูนย์พัฒนา
คุณภาพการเรียนการสอน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541)
ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. วารสารนวัตกรรมการเรียนการสอน 2
(พฤษาคม-สิงหาคม)
ศิริการญจน์ โกสุมภ์. (2542). การมีส่วนร่วมของชุมชนและโรงเรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (อัดสำเนา)
อารี พันธ์มณี. (2538). ความคิดสร้างสวรรค์กับการเรียนรู้. กรุงเทพฯ ต้นอ้อแกรมมี่.
Baldwin, Jill. And William, Hank. Active Learning : A Teacher’s Guide. Great Britain: T.J.
Press, 1998.
Chickering, A. W. and Gamson, Z. F. (1987). Seven principles for good practice in
undergraduate education (Online)
Good, T. L. and Brophy, J. E. (1987). Looking in class. New York: Harper and Row.
Schomberg, S. F. (1986). Strategies for active teaching and learning in university
Classroom. Mineapolis: University of Minnesota Teaching Center.
Stearns, Sersan A. Steps for Active Learning of complex Concepts. College Teaching, 1994.
Toby J. Karten. 40 Active Learning Strategies Inclusive Classroom. A SAGE Company, 2011