การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน ศึกษากรณี: นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสวายพิทยาคม ตำบลสวาย อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ณวรัน เรืองศิริ
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบท สภาพปัญหาการเรียนรู้ของนักเรียน ศึกษาหลักทฤษฎีวิธีปฏิบัติที่มีสติและสมาธิเป็นฐานตามวิทยาการสมัยใหม่และพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน และ 3) เพื่อนำเสนอการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวายพิทยาคม ตำบลสวาย จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยพัฒนา ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 49 คน วิเคราะห์ข้อมูลสถิติเชิงพรรณนาค่าร้อยละ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 16 รูป/ คนด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และจัดสนทนากลุ่มกับผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญ 7 รูป/ คน วิเคราะห์ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวายพิทยาคม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ได้แก่ (1) สมาธิสั้น (2) หย่อนภาวะผู้นำ (3) ขาดวินัย (4) ขาดแรงจูงใจในการเรียนรู้ (5) ติดโซเชี่ยล (6) ยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง (Nirun,2020) 2) กระบวนการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวายพิทยาคม ฝึกสติเชิงรุกและเชิงรับด้วยอิทธิบาท 4 ทำกิจกรรม 6 ขั้นตอน มีสติ จิตเพลินรู้ เพิ่มพูนจริยะ เสริมทักษะ สะท้อนผล และสรุปตน ตามหลักภาวนา 4 คือ พฤติกรรมดี เก่งสังคม อุดมปัญญา ฉลาดอารมณ์ 3) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสวายพิทยาคม ประกอบด้วย กระบวนการเรียนรู้ที่มีสติและสมาธิเป็นฐาน เรียกว่าโมเดล M-P-E-A-C-E ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ 1) สร้างสันติภายใน 2) สร้างวิธีเครื่องมือ 3) พัฒนาจริยธรรม 4) สร้างเสริมทักษะผู้นำ 5) สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน 6) พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Education Reform Office. (2010). National Education Act Amendment (Third National Education Act.B.E. 2553 (2010). Bangkok: n.p.

Eastern Research Team. (2007). The monitoring of children and youth in the Eastern Province (Research Report). Chachoengsao: Rajabhat Rajanagarindra University Ministry of Education.

GENG. (2018). The Gen Me era, the era of new breeds. Retrieved April 15, 2020 from https://www.graphicbuffet.co.th/era-gen-me-theeraofnewbreeds/

Konnikova, M. (2012). The Power of Concentration. New York: Section SR.

Leicht, A., Combes, B., Byun, J. W., & Agbedahin, V. A. (2020). Issues and Trends in Education for Sustainable Development. Retrieved May 29, 2020, from https://www.bic.moe.go.th/index.php/component/k2/item/4895-issues-and-trends-in-education.

Nirun, T. (2020). Sawaipittayakom School Director. Interview. April, 26.

National Education Plan. (2017). National Education Plan 2017 -2036. (1st ed.). Bangkok: Chili Sweet Graphic Co., Ltd.

Office of the National Economic and Social Development Board and Office of the Prime Minister. (2018),The Twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Retrieved May 29, 2020, from https://data.thailand.Opendevelopmentmekong.net/library_record/12

Office of the Basic Education Commission. (2019). Process of mindfulness & Concentration Based Learning, Sub-committee for the teaching and learning reform of Buddhism in basic education institutions. Bangkok: the Basic Education.

Phra Dharmakosajarn (Prayoon Dhammajitto). (2020). Proactive propagation. (1st ed.). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya University Press.

The American School 0f Bangkok. (2020) The starting point of consciousness education. Retrieved June 21, 2020, from https://asb.ac.th/sukhumvit/th/academics/mindful-education-initiative

Thomas, A., & Thorne, G. (2008). Learning Process, learning language and a place called school. Metairie, LA: Center for Development and Learning.

United Nations Thailand. (2015). GOAL From MDGs to SDGs.Retrieved April 29, 2020, from https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/