สุนทรียภาพสภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมบ้านเรือนไทยในอดีต 2) ถอดรหัสหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ประยุกต์สู่สภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการค้นคว้าจากภาคเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 12 คน ประกอบไปด้วย สถาปนิก มัณฑนากร และผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมในสังคมเมือง และนำมาประยุกต์ด้วยการถอดรหัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สภาพแวดล้อมภายในที่อยู่อาศัยในแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า 1) วิถีชีวิตการอยู่อาศัยของคนไทยในอดีตสอดคล้องไปกับธรรมชาติสภาพแวดล้อมมีความเป็นอยู่แบบพอมี พอกิน พอใช้ ตามแนวทางสายกลางโดยมีพระพุทธศาสนาคือ ศีล สมาธิและปัญญาเป็นหลักธรรมประจำใจเหมาะสมกับการนำมาปรับใช้ในสังคมเมืองปัจจุบัน 2) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ตั้งอยู่ในความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน บนพื้นฐานของความรู้คู่คุณธรรม บนทางสายกลางสามารถนำมาประยุกต์ใช้สภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยในสังคมปัจจุบัน 3) คุณภาพของสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยอันนำไปสู่ความสุข สงบ ทางร่างกายและจิตใจ ด้วยแนวทางของความเรียบง่าย ประยุกต์ ประโยชน์ และประหยัด ตามแนวทางสายกลางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก่อให้เกิดความสมดุลและคุณภาพชีวิตการอยู่อาศัยในวิถีของสังคมเมืองที่สับสนวุ่นวายอยู่ในปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Bielefeld, B. (2017). Basics Architectural Design. Bangkok: Li-Zenn Publishing.
Hasoontree, N. (2018). A Model of Quality of Life Development According to Sufficiency Economy Philosophy of People in Chiang-Rai Province. IACEMI 2018 at Courtyard by Marriott Budapest City Center Hotel Hungary.
Kalyanamitra, C. (1996). Thai Traditional Architecture, Bangkok: The Association of Siamese Architects Under the Royal Patronage of His Majesty the King.
Koren, L. (2013). Wabi-Sabi for Artists, Designers, Poets & Philosophers. Bangkok: Suan Nguen Mee Ma Co., Ltd.
Lane, J. (2001). Timeless Simplicity: Creative Living in a Consumer Society, UK: Green Books.
Phrabhrammaghunabhorn (P.A. Payutto). (2014). Bhuddadhamma: Extended Version. 39th Printed. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Printing.
Ploychum, S. (2002). Aesthetics: Problems and Theory About Beauty and Art, Bangkok: Mahamakut Buddhist.
Ploychum, S. (2009). Buddhist Philosophy in Sutantapitaka. Bangkok: Bangkok Block.
Puntasen, A. (2004). The King’s Sufficiency Economy and the Analysis of Meaning by Economists. Bangkok: Department of Technical and Economic Cooperation, Minister of Foreign Affairs.
Ruksat, S. (2013). Suvinyamala Bible. Bangkok: Bangkok Block.
Tanizaki, J. (1977). In Praise of Shadows. New Haven, Connecticut: Leete’s Island, Inc.
Wasi, P. (1999). Sufficiency Economy and Civil Society: Revival Guideline Sufficiency Economy and New Theory. Bangkok: Mo Chaoban.