การจัดการวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ในภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสำรวจพื้นที่ของวัดท่องเที่ยวแบบอารยสถาปัตย์ในภาคเหนือตอนบน 2) เพื่อศึกษาและพัฒนาเส้นการท่องเที่ยวตามคติ ความเชื่อแห่งเส้นทางแห่งบุญของวัด 9 ศรีในจังหวัดลำปางและรูปแบบการพัฒนาอารยสถาปัตย์ของวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามรอยครูบาเจ้าศรีวิไชย จังหวัดลำพูน 3) นำเสนอแอพพลิเคชั่นการจัดการวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามแบบอารยสถาปัตย์ในภาคเหนือตอนบน เป็นการวิจัยเชิงบูรณาการแบบผสมผสาน โดยเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย และปฏิบัติการ โดยการคัดเลือกเป้าหมายแต่ละพื้นที่แบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก 76 รูป/คน เพื่อนำไปสู่เส้นทางการท่องเที่ยวผ่านสื่อมีเดีย


ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวเดินทางเพื่อพักผ่อนจากข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต โดยเดินทางเป็นครอบครัวด้วยรถส่วนตัวในวันเสาร์-อาทิตย์ ประมาณเดือนละครั้ง ชอบรับประทานอาหารพื้นเมือง มีการพักค้างคืนในโรงแรม และค่าใช้จ่ายแต่ละครั้ง 3-5 พันบาท ตลอดถึงความสะดวกของแหล่งท่องเที่ยวแบบอารยสถาปัตย์ เข่น การเข้าถึงสถานที่สำคัญของทุกเพศทุกวัย มีลานจอดรถสำหรับผู้พิการ ห้องน้ำ และทางเดินฯลฯกระบวนการสร้างสรรค์พื้นที่ ได้แก่ 1) การจัดการแหล่งท่องเที่ยวเดิมที่มีความพร้อมด้านกายภาพ การจัดการ การมีส่วนร่วม การอนุรักษ์และส่งเสริม 2) การจัดการพื้นที่สร้างสรรค์บนคติ ความเชื่อเส้นทางบุญที่เกิดจากความเชื่อ ความงดงามด้านพุทธศิลป์ การมีส่วนร่วม ภาคีเครือข่าย การเข้าถึง และกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ตามรอยครูบาที่ส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น แสดงความกตัญญู รวมถึงการนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวผ่าน Application เพื่ออำนวยความสะดวกทางข้อมูล เส้นทางและกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Brisuththi, C. (2014). To Study the City Building (Machizukuri) with Contemporary Art within Kanazawa City, Ishikawa Prefecture. Chiang Mai: Chiang Mai University.

Kaewthep, K. (1997). Community Organizations: Mechanism for Solving Problems and Social Development. Bangkok: Plans publishing Printing.

Mayer, T. (2007). The Future of Social Democracy. (Sombat Benjasirimongkol, Transtrator). Bangkok: S.B. Consulting Print.

Provincial Integrated Executive Committee. (2015). Chiang Mai Province 4 Years Development Plan (2015– 2018). Chiang Mai: Chiang Mai Province.

Puchthonglang, P. et al. (2018). Religious Tourism Development Guidelines for Auspicious-Name Temples in Muang District, Chiang Mai Province. Journal of Language, Religion and Culture, 7(1), 212-242.

Sanglimsuwan, K., & Sanglimsuwan, S. (2012). Sustainable Cultural Heritage Tourism. Executive Journal, 32(4), 139-146.

Siriwong, P., & Sengdaeng, P. (2011). The Traveling of Physically Disabled in Thailand. Veridian E-Journal, SU 4 (2), 221-228.

Tangsomchai, C., & Kanklin, P. (2011). Situation and Base of Tourist Business in the Upper North Region. (Research Report). Chiang Mai: Business Warning Center: BWC Faculty of Business Administration Chiang Mai University.