พุทธธรรมาภิบาลกับปรัชญาหลังนวยุคสายกลาง

Main Article Content

พระครูโอภาสสราธิคุณ ชาตรี (อาสโภ)
สิริกร อมฤตวาริน
กีรติ บุญเจือ
เอนก สุวรรณบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ วิจักษ์ คือประเมินค่าแต่ละประเด็นที่แจกแจงออกมาและวิธาน คือการประยุกต์ใช้ เป็นการลงมือทำการอย่างมีวิธีโดยเลือกเอาเฉพาะที่เห็นว่าจะเป็นคุณมาใช้ตามเป้าหมาย โดยการวิเคราะห์จากพุทธธรรมาภิบาลตามหลักปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเพื่อการอธิบายที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ใช้วิธีวิจัยทางปรัชญา ได้แก่ วิภาษวิธีของโสกราตีส ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดด้านพุทธธรรมาภิบาลว่าเป็นการปกครองที่ดีตามกระบวนทรรศน์นวยุค โดยมีเหตุผลว่า 1) ธรรมาภิบาลเป็นหลักการเชิงกฎ 2) ธรรมาภิบาลเป็นหลักการเชิงคุณธรรม และ 3) ธรรมา ภิบาลเป็นหลักกระทำดีตามข้อธรรมในพระพุทธศาสนาด้านปกครอง ซึ่งกระแสคิดดังกล่าวเน้นในความเป็นกฎ เป็นเกณฑ์ เป็นข้อคุณธรรม แม้จะแสดงเหตุผลได้อย่างสมเหตุสมผล แต่การเป็นกฎทำให้ลงมือกระทำแบบแยกส่วน การอบรมคุณธรรมแบบนวยุคเน้นเรื่องของผลประโยชน์และพุทธธรรมาภิบาลไม่ใช่เพียงคุณธรรมของผู้ปกครอง ผู้วิจัยตีความใหม่ได้ว่า “พุทธธรรมาภิบาลตามหลักกระบวนทรรศน์ปรัชญาหลังนวยุคสายกลางเป็นภาวะแห่งการอภิบาลโลกเพื่อให้โลกดำเนินไปเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยผู้ปกครองที่มีคุณธรรม ผ่านหลักการปกครองเชิงคุณธรรม เพื่ออภิบาลหมู่ชนที่มีคุณธรรมเป็นพื้นฐาน” เพื่อขยายมุมมองให้กว้างขวางรวมผู้ปกครอง หลักการและระบบปกครอง และประชาชน ไว้ด้วยกัน เมื่อมีความเข้าใจในพุทธธรรมาภิบาลอย่างชัดเจน ย่อมนำไปสู่ศักยภาพในการถ่ายทอดและการเสริมสร้างจิตสำนึกพุทธธรรมาภิบาล แต่ก็ต้องเปิดใจรับนำมาวิเคราะห์และวิจักษ์เสียใหม่ด้วยใจที่เป็นกลาง เมื่อประเมินค่าแล้วพบว่าจึงเป็นทั้งหลักการเชิงกฎและเชิงคุณธรรมในการปกครอง จึงย่อมต้องเพ่งไปยังข้อธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง การดำรงหมู่คณะ และการยังงานให้สำเร็จด้วยดี สามารถนำไปใช้เป็นหลักการและแนวทางในการดำเนินการส่งเสริมการปกครองที่ดีตามหลักพุทธธรรมาภิบาลเพื่อความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonchuea, K. (2018). Introduction to Philosophy and Ethics. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

Barua, B.C., & Barua, N. (2019). Buddhist approach to universal ethics through good governance: A study on ten royal virtues. Mindful leadership for sustainable peace. Retrieved August 17, 2020, from http://www.undv2019vietnam.com/Subtheme01/en/14.pdf.

Bauman, Z. (1996). Postmodern ethics. Cambridge: Blackwell.

Dowasat, P. (2017) Public Participation to Enhance the Good Governance of Local Authority Organization, Journal of Graduate Studies, 14(5), 215-224.

Harimtepathip, M. (2016). The New Paradigm of the Information Society for Good Governance. Buddhamagga, 1(1), 22-34.

Ranciére, J. (2000). Literature, Politics, Aesthetics: Approaches to Democratic Disagreement. Project MUSE Mission, 29(2), 3-24.

Kaenkaew, C., & Boonjua, K. (2018). Developing the quality of life according to the postmodern approach philosophy is true happiness. Journal of Humanities & Social Sciences (JHUSOC), 16 (3), 473-483.

Moore, M.J. (2015). Political theory in canonical Buddhism. Philosophy east & west, 65(1), 36-64.

Phrakruparad Tharanuwat (Suthep) Deeyium. (2018). Synthesis of principles of good governance through Buddhism for organizational culture development. Journal of Mahachulalongkornrathorn, 5(3), 488-504.

Phra Nopasin Sutthajitto. (2019). Management process according to the Buddhist good governance of Baan Ueaam Sub-District Administration Organization, Muang District, Lampang Province. Journal of MCU Peace Studies, 7(4), 1007-1021.

Phra Maha Kraiwan Chintattiyo, et al. (2017). Management of business organizations according to Buddhism. Good governance. Journal of Maharat Buddhapanya Periscope, 2(1), 61-72.

Phra Maha Patanprichano (2015). A comparative study of the concept of mind and body. In Theravada Buddhism and the philosophy of René Descartes. Dhammathas Academic Journal, 15(3), 37-46

Government Gazette. (1999). Regulation of the Office of the Prime Minister on the Creation of a Good Government and Social Affairs Administrative System, B.E. 2542. p. 24-31.

The Secretariat of the House of Representatives Constitution of the Kingdom of Thailand. (2007). Bangkok: Publisher Secretariat of the House of Representatives.

Wattanachai, K. (2003). Good governance and corruption in Thai society. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.