บทบาทของท้องถิ่นในการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์: กรณีศึกษา การพัฒนาเมืองระนองภายใต้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง

Main Article Content

สิรวิชญ์ ภู่ทอง
รัตพงษ์ สอนสุภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา ทรัพยากรทางธรรมชาติและวัฒนธรรมของเมืองระนอง 2) ศึกษาแนวทางการจัดการของ อบจ. ระนอง ในการพัฒนาจังหวัดระนองสู่เมืองสร้างสรรค์ และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของ อบจ.ระนอง งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์จากข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิได้มาจากการสัมภาษณ์ โดยมีวิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มหรือบุคคลที่มีประสบการณ์มากในเรื่องนั้นๆ  และเป็นกลุ่มที่น่าสนใจและเป็นตัวแทนของเรื่อง มีทั้งหมด 3 กลุ่ม อันได้แก่ ภาครัฐ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ อบจ. ระนอง ภาคเอกชน และภาคชุมชน ข้อมูลทุติยภูมิได้มาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลที่ได้จากเอกสารและการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบอุปนัย  ร่วมกับแนวคิดเมืองสร้างสรรค์ และแนวคิดเมืองนิยม เพื่อสรุปประเด็นแนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของท้องถิ่นในจังหวัดระนอง


ผลการวิจัยพบว่า 1) เมืองระนองเป็นเมืองที่มีทุนทรัพยากรของเมืองที่โดดเด่นทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ ทุนทางประวัติศาสตร์ ทุนทางยุทธศาสตร์และที่ตั้งของเมือง ทุนทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุนทางสังคมและวัฒนธรรม และทุนผู้ประกอบการสร้างสรรค์ 2) แนวทางการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ของ อบจ.ระนอง ใช้วิธีการเน้นพัฒนาเยาวชนให้มีความสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้ท้องถิ่นอื่นๆ ได้พัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์ตามบริบทพื้นที่ตนเอง 3) อบจ.ระนอง ยังเผชิญปัญหาอำนาจที่ไม่เพียงพอในการบริหารเมืองสร้างสรรค์ ขาดการเชื่อมโยงภาคส่วนต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ระนองมีภาคเอกชนและภาคชุมชนที่มีค่านิยมในการรักเมืองระนอง พัฒนาจากทุนทรัพยากรของพื้นที่ให้กลายเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองระนองสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ได้ในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Borchardt, A. (2015). The Creative City: Connecting People, Place, and Identity, in Glasgow and Portland. Manchester: MSA Publications.

Chatmaleerat, K. (2020). Former Chief Executive of The Ranong Provincial Administrative Organization. Interview. July, 16.

Howkins, J. (2001). THE CREATIVE ECONOMY: How people make money from ideas. UK: Penguin Books, Ltd.

Hsu, H. L. (2015). Culture is a Good Idea-A Study on the Creative City Development. International Journal of Humanities and Management Sciences (IJHMS), 6(3), 386-392.

Kaewlai, P. (2014). Creative City. Bangkok: King Prajadhipok's Institute.

Lakchai, S. (2020). Deputy Chief Administrator of the Ranong Provincial Administrative Organization. Interview. July, 18.

Landry, C. (2001). The Creative City: A Toolkit for Urban Innovators. London: Routledge.

Laotamatas, A. (2017). Political Reform in the Age of Urbanization. Bangkok: Center for Mega City and City Study.

Nawikamoon, A., & Likitpronswan, T. (2018). A collection of historical photographs depicting life in Ranong Province. Ranong: Ranong Provincial office.

Ranong Provincial office. (2019). Master Plan and Development of Ranong Old Town Project (Executive Summary). Ranong: TESCO, Ltd.

Suwutikul, D. (2020). Public Relations Officer of The Ranong Provincial Administrative Organization. Interview. July, 15.

UNCTAD. (2008). Creative Economy Report 2008. Geneva: UNCTAD.

Yenbumrung, N., & Satitpongsathaporn, A. (2016). Resource-based Economic Development in Ranong City. Bangkok: Center for Mega City and City Study.