อนุภาคการเดินทางของผู้หญิงกับการเมืองเรื่องเพศในชาดกล้านนา

Main Article Content

ดลยา แก้วคำแสน
ปฐม หงษ์สุวรรณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเมืองเรื่องเพศผ่านอนุภาคการเดินทางของตัวละครหญิงในชาดกล้านนา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผ่านการวิเคราะห์จากเอกสารตัวบทชาดกล้านนา 4 เรื่องได้แก่ 1) นางผมหอม 2) วรรณพราหม 3) ก่ำกาดำ 4) สีหนาทชาดก และนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ประเด็น ดังนี้ 1) รูปแบบการเดินทางของตัวละครหญิงสามารถจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) การเดินทางทางบก (2) การเดินทางทางน้ำ (3) การเดินทางทางอากาศ ซึ่งการเดินทาง
ทางบกด้วยการเดินเท้าเท่านั้นที่ผู้หญิงสามารถพึ่งพาและต่อสู้กับอุปสรรคได้ด้วยตนเอง ส่วนการเดินทาง
ในรูปแบบอื่นที่ต้องอาศัยพาหนะนั้นตัวละครหญิงยังต้องพึ่งพาตัวละครชาย 2) เหตุแห่งการเดินทางพบว่า ผู้ชายเป็นผู้มีอิทธิพลสำคัญต่อการเดินทางของตัวละครหญิงด้วยเหตุ 5 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อติดตาม (2) เพื่อตามหา (3) ถูกขับไล่หรือถูกเนรเทศ (4) เพื่อการท่องเที่ยว (5) เพื่อกลับเข้าเมือง 3) อนุภาคการเดินทางของตัวละครหญิงในชาดกล้านนาได้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างเพศหญิงและเพศชาย โดยเพศชายมีอำนาจเหนือกว่าจึงพยายามตอกย้ำและกดทับความเป็นหญิง ส่วนเพศหญิงที่ตกเป็นรองจึงพยายามหากลวิธีเพื่อต่อสู้ต่อรองกับอำนาจที่เหนือกว่า

Article Details

How to Cite
แก้วคำแสน ด., & หงษ์สุวรรณ ป. (2022). อนุภาคการเดินทางของผู้หญิงกับการเมืองเรื่องเพศในชาดกล้านนา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 720–736. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/249266
บท
บทความวิจัย

References

Chongsathitman, C. (1992). Cultural Crisis: The Case of Changing Commnity Values. Bangkok: Office of the National Culture Commission.
Hongsuwan, P. (2012). Legend of Lanna Buddha: Wisdom the Power of Faith and Relationship with Local. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).
Hongsuwan, P. (2013). Amarapiswad: Women love the monks with the meaning of violence. in A long time ago there was a Story Tale Legend Life (pp. 311-348). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Kaewthep, K. (2001). Women study 2 women with various issues. Bangkok: Office of the National Women's Promotion and Coordination Committee Office of the Permanent Secretary, Office of the Prime Minister.
Kongkirati, P. (2015). Thai culture politics On memory/ discourse/ power. Nonthaburi: Sameskybooks.
Nimmanahaeminda, P. (2000). Folktales Study. Bangkok: Faculty of Arts Chulalongkorn University.
Piayura, O. (2018). LITERATURE AND GENDER. (2nd ed.). Khon Kaen: Khon Kaen Printing.
Ratana, P. (2013). Creating the image of the northern woman: the impact of tourism development in Thailand. in Chaimuangchun, P., Saensa, P (Eds.). Lanna history mark: Includ academic articles on the occasion of the sixth anniversary of Prof. Saratsawadee-Assoc. Prof.Somchot Angsakul. (pp. 247-270). BangKok: Eastern Printing House.
Wannakit, N. (2012). Motif of Supernatural Birth in Jataka, Thai Myths and Folktales. HUMANITIES JOURNAL, 19(2), 60-86.