พระพุทธศาสนากับการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตาม หลักปัญญาภาวนาของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาหลักการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ตามหลักปัญญาภาวนาในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษากระบวนการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ และ 3) เพื่อศึกษาผลการส่งเสริมการพัฒนาตนเอง ตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารวิชาการ สัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงเนื้อหา และสอบถามประชากรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 227 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลแบบพรรณนา ใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาในพระพุทธศาสนา ได้แก่ การคบคนดี, มีศีล, มีฉันทะ, มีการฝึกดี , มีความเชื่อที่ถูก, ไม่ประมาท และคิดรอบคอบ วิธีการการพัฒนาเพื่อให้เกิดปัญญา คือ คบคนดี, ฟังธรรมของคนดี, คิดดี และปฏิบัติดี ภาพรวมของพระพุทธศาสนากับการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( 3.56) 2) กระบวนการส่งเสริมการพัฒนาตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( 3.60) 3) ผลการส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนาของผู้สูงอายุในชุมชนจังหวัดสุรินทร์ ในด้านสิ่งแวดล้อมที่สัปปายะ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (3.56) ดังนั้น รูปแบบที่ส่งเสริมการพัฒนาตนเองตามหลักปัญญาภาวนา คือ 1) อ.อาวาสะ ที่อยู่ดี 2) อ.อาคมนะ การสัญจรดี 3) อ.โอวาทะ การสอนดี 4) อ.อาจริยะ ครูสอนดี 5) อ.อาหาระ อาหารดี 6) อ.อากาสะ อากาศดี และ 7) อ.อิริยาปถะ รูปแบบดี
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2012). Visuddhimagga Thai Edition. Bangkok: MCU Press.
Phramaha Suthit Aphakaro et al. (2015). The Model of Well-being promotion and Social Learning based on Buddhist. (Research Report). Ayutthaya: Buddhist Research Institution of MCU.
Phramaha Yothin Yodhiko. (2014). Role of Thai Buddhist Monks in Promoting Health of Elderly People in North-eastern Region. Research Report). Ayutthaya: Buddhist Research Institution of MCU.
Phrasitthithanayakit, S. (2002). Buddhist Thought in Education. Bangkok: Ramkhamhaeng University.
Phuthong, S. (2003). A Development of the Experiential Learning Model of Improve Quality of Life for Adults in the Northern Rural Community. Research Report). Ayutthaya: Buddhist Research Institution of MCU.
Sodadee, B. et al. (2006). A Study of the Development Method of the Meditation Centres in the Eleventh Regional Administration. Research Report). Ayutthaya: Buddhist Research Institution of MCU.
Thanintr, S. (2008). Statistical analysis and research with SPSS. (8th Ed). Bangkok: Business R & D.
Warapongphichettha, P. (2007). Buddhist Approach to Disease. Bangkok: Division of Complementary and Alternative Medicine Ministry of Public Health.
Wasuntarawat, C., et al. (2014). Effects of Chanting and Loving-kindness sharing of the elderly Health promotion. (Research Report). Phisanulok: Faculty of Medical Science Naresuan University.
Wattanapradith, K. et al. (2017). The Holistic Development of Mind and Wisdom: Documentary and Research Synthesis. (Research Report). Ayutthaya: Buddhist Research Institution of MCU.