แนวทางการจัดอบรมวิชาชีพด้านอาหาร สำหรับผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

จุฑามาศ พีรพัชระ
พัชรนันท์ ยังวรวิเชียร
ชนิดา ประจักษ์จิตร
จอมขวัญ สุวรรณรักษ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการหลักสูตรอบรมวิชาชีพด้านอาหาร 2) จัดทำหลักสูตรและแนวทางที่เหมาะสมในการอบรมวิชาชีพด้านอาหาร และ 3) ทดลองใช้หลักสูตรวิชาชีพด้านอาหารของกลุ่มผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือจังหวัดเพชรบุรี ผู้ให้ข้อมูลหลักและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นผู้บริหารเทศบาลเมืองชะอำ กรรมการและสมาชิกชมรมผู้สูงอายุบ้านห้วยทรายเหนือ จำนวน 7 คน และ 170 คนตามลำดับ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบสอบถาม แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังอบรม แบบประเมินผลภาคทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


            ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรวิชาชีพด้านอาหารที่ผู้สูงอายุต้องการอบรม 3 ลำดับ ได้แก่ อาหารว่าง ขนมหวาน และน้ำพริก ใช้สถานที่ของชมรม อบรมในวันทำการครั้งละ 3 ชั่วโมง โดยวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับวิทยากรจากสถาบันการศึกษา ใช้สื่อประเภทรูปภาพประกอบคำบรรยาย ใช้วิธีการอบรมที่เน้นภาคทักษะ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างวิทยากรและผู้เข้าอบรม จัดกิจกรรมทางสังคมระหว่างการอบรม
มีการประเมินผลก่อนและหลังอบรมแบบมีส่วนร่วม 2) จัดทำหลักสูตรและแนวทางที่เหมาะสมในการอบรมวิชาชีพด้านอาหาร พบว่า หลักสูตรอบรมประกอบด้วย 11 หัวข้อ มีความเหมาะสมในระดับมาก 3) การทดลองใช้หลักสูตรวิชาชีพด้านอาหาร พบว่า คะแนนการทดสอบความรู้หลังการอบรมของผู้รับการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทักษะการปฏิบัติ 5 ใน 7 ด้านอยู่ในระดับดีมาก ผู้รับการอบรม
พึงพอใจต่อกระบวนการอบรมในระดับมาก ผู้รับการอบรมที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้รับการอบรมที่มีอายุต่างกันและสถานภาพในชมรมต่างกันมีความพึงพอใจต่อกระบวนการอบรมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Sungnoen, J. (2017). Relationship Between Attitude inSelf-Care Behavior, access to Public Health Care System and Self-Care Behavior of the Self-Care Behavior of the Elderlies at Ban Huay Sai Neu Community, Phetchaburi Province. Journal of The Research Promotion Association, 8(1), 337-348.

Barnard, T. (1996). Teaching Teacher UV: The Learning Cycle. Science and Chrildren, 7, 30-32.

Best, J.W. (1970). Research in Education. (2nd ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Choosup, S. (2013). Satisfaction of The Trainees toward the Occupation Development Program. Swu e-journal, 16(2016).

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute (TGRI). (2016). The Thai Elderly 2014. Bangkok: Amarin Printing.

Maslow, A.H. (1970). Motivation & Personality. New York: Harper and Row Publishers.

Phillip, M. (2001). How to Make Lifelong Learning a Reality; Implication for Planning of Education Provision in Australia. In International Handbook of Lifelong Learning (Part one). The Netherland: Kluwer Academic.

Non-Formal Education Department Division. (2000). Local Curriculum Development Guide. Revised version. Bangkok: Odian Store.

Office of the Education Commission. (2000). Lifelong Learning Strategies: A Seminar Report. Retrieved February 18, 2019, from https://202.143.150.11/media/ebook/pdf/4318005/pdf

Othaganont, P. et al. (2014). The Development of a Training Curriculum on Health Promotion Knowledge Management Skills for the Elders. Thai Science and Technology Journal (TSTJ), 22(5), 716-730.

Paibulsiri, P. (2012). Curriculum Development for Increasing the Quality of Life in the Aging. EALI Heritage Journal Social Science and Humanities, 2(1), 191-199.

Sungsri, S. (2000). Policy for Promotion Lifelong Learning of Thailand: A Seminar Report. Bangkok: The National Institute of Education Technology. Office of the National Education Commission.

Taweecheep, N., Suriya, T., & Phoomchan, P. (2016). Development of water hyacinth handicrafts vocational training program for senior citizens. Kasetsart Journal of Social Sciences, 37(2016), 279-290.

United Nations. (2015). World Population Ageing 2015. New York: United Nations.

Taro, Y. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3th ed.). New York: Harper and Row Publication.

Yamekaew, J. (2017). Activity Formats for The Elder People in Happiness School of Taidong Sub-District Wangpong District Phetchabun Province. The 17th Graduate Studies of Northern Rajabhat University Network Conference. (pp.1401-1412). Pibulsongkram Rajabhat University.

Youngworawichian, P. (2015). Satisfaction of Phetchaburi Province Communities towards Vocational Training Service of Institute of Development and Research, Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. (Master’s Thesis). Kasetsart University. Bangkok.

Yuriek, A.G. et al. (1980). The Aged Person and Nursing. New York: Appleton-Century Crofts.