การยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรม ของ 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว

Main Article Content

วุฒิวัฒน์ อนันต์พุฒิเมธ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมของ 5 กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และ 2) เพื่อยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรมของ 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว กลุ่มเป้าหมายได้แก่ ปราชญ์ชุมชนที่มีความรู้ จำนวน 5 คน เป็นการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงที่ยินดีให้ข้อมูล และกลุ่มเป้าหมายที่ยกระดับนวัตกรรมวัฒนธรรม ได้แก่ นักวิชาการทางด้านวัฒนธรรม จำนวน 5 คน เป็นการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ที่ยินดีและเต็มใจเข้าร่วมยกระดับนวัตกรรม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มเฉพาะ และวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา


ซึ่งพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว มีทั้งหมด 5 กลุ่มชาติพันธุ์ แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีกระบวนการสร้างและสืบทอดความเป็นตัวตนของตนเองที่ชัดเจน และการยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรมแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์จึงมีแนวทางดังนี้ 1) กลุ่มชาติพันธุ์ญ้อ ยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรมด้านประเพณีแห่ปราสาทผึ้งให้ยั่งยืนด้วยการส่งเสริมให้อยู่ในหลักสูตรท้องถิ่น 2) กลุ่มชาติพันธุ์ลาว ยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรมด้านผ้าทอพื้นบ้านด้วยการส่งเสริมผ้าทอพื้นบ้านให้มีมิติร่วมสมัย 3) กลุ่มชาติพันธุ์เขมร ยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรมด้านการละเล่นและดนตรีพื้นบ้าน โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วม 4) กลุ่มชาติพันธุ์จีน ยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรมด้านพิธีกรรมและความเชื่อ โดยการส่งเสริมและจัดการท่องเที่ยวค้นหาบริบทประเพณีเทศกาลที่แตกต่างจากพื้นที่ชาติพันธุ์จีนในที่อื่น ๆ และ 5) กลุ่มชาติพันธุ์เวียดนาม ควรยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรมด้านอาหาร โดยการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร

Article Details

How to Cite
อนันต์พุฒิเมธ ว. (2021). การยกระดับนวัตกรรมทางวัฒนธรรม ของ 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1079–1092. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/248870
บท
บทความวิจัย

References

Jirawat, P. (2018). Innovation Development Program in Management Arts Tour the cultural, traditions and festivals in the Phu Hin Rong Kla area, Phu Tub Berk and Khao Kho. Bangkok: The Thailand Research Fund (TRF).

Office of the National Economic and Social Development Board Prime Minister's Office, (2017). National Economic and Social Development Plan No. Twelve 2017 -2021. Retrieved March 11, 2020, from https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=6422

Piyapan, S. (2003). Cultural Diversity Study: Northeastern Folk Music Wisdom For the development and commercial application and social services. Mahasarakham: Mahasarakham University.

Changkwanyuen, P. (2017). Perspectives on Humanities, Society and Education. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Saksri, W. (2011). Isan Civilization Basin. Bangkok: Thammasat University.

Sudarat, N. (2015). Business Design: Case Study of Vietnamese Restaurant, Hanoi Kitchen in Phra Phutthabat Town Municipality Saraburi Province. Business conference and Innovation in national and international management of the year 2015.

Sukrita, H. (2016). Innovative souvenirs from cultural capital. Executive Journal, 36(2), 14–23.

Tantat, W. (2018). Guidelines for Cultural Tourism Management of Hoi an City, Vietnam. Research Journal Rajamangala University of Technology Srivijaya, 3(10), 398-410.

Wannipokom. (2011). Social development -Thai culture. Bangkok: Ancient City.