กระบวนการสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊ก เพื่อส่งเสริมสันติภาพของพระสงฆ์โดยพุทธสันติวิธี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กของพระสงฆ์ไทยในยุคปัจจุบันและกระบวนการสื่อสารเพื่อสันติภาพ 2) ศึกษาพุทธสันติวิธีที่ส่งเสริมกระบวนการการสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กของพระสงฆ์ไทย 3) นำเสนอกระบวนการสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กเพื่อส่งเสริมสันติภาพของพระสงฆ์โดยพุทธสันติวิธี โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิประกอบด้วยนักวิชาการด้านศาสนาและพุทธสันติวิธี นักวิชาการด้านสันติวิธี นักสื่อสารมวลชน และนักวิชาการด้านสังคม จำนวน 9 รูป/คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กของพระสงฆ์ไทยยุคปัจจุบัน มีเนื้อหาขัดต่อหลักวาจาสุภาษิตอยู่บ้าง ทั้งเฟกนิวส์ คำเกลียดชัง คำหยาบ โพสต์ไร้ประโยชน์ในลักษณะเลียนแบบฆราวาสวิสัย เกิดจากขาดสติไม่ปรับทัศนคติรับองค์ความรู้รองรับสื่อใหม่ ไม่พัฒนาทักษะประกอบสารให้โดนใจ ไม่สร้างเครือข่ายทำงานเป็นทีม ดังนั้น พระสงฆ์ไทยจึงต้องปรับทัศนคติแสวงหาองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับทฤษฎีการสื่อสาร ทั้งทฤษฎี SMCR ของ เดวิด เค. เบอร์โล ทฤษฎี 5W1H ของ ฮาโรลด์ลาสแวลล์ ทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสันติภาพ “4N” ของ โยฮัล กันตุง และทฤษฎีการสื่อสารเพื่อสันติ “NVC” ของ มาร์แชล โรเซนเบิร์ก โดยมีพระสงฆ์ 4 รูปเป็นต้นแบบ พร้อมนำหลักพุทธสันติวิธีคือ “วาจาสุภาษิต” มาบูรณาการ เสริมด้วยหลักธรรมทั้ง เมตตา กรุณา ขันติธรรม โดยมีสติเป็นฐาน ตาม 7ส.(สงฆ์ส่งสารสื่อสติสุขสากล) โมเดล ตามด้วยวิเคราะห์ประเมินตัวเองและผู้รับสารด้วยหลักโยนิโสมนสิการ สังเกตข้อเท็จจริง ความรู้สึก ความต้องการประกอบสารที่มีเนื้อหาจริง ไพเราะ เหมาะกาล ประสานผลประโยชน์ รวมถึงหลัก “4N” และ “NVC” ออกแบบเนื้อหาให้เหมาะกับเฟซบุ๊ก แล้วส่งในเชิงขอร้อง ทุกขั้นตอนต้องมีสติ ไร้อคติ มีเมตตา กรุณา ระดับสากล จึงทำให้การสื่อสารออนไลน์ผ่านเฟซบุ๊กส่งเสริมสันติภาพเกิดสันติสุขสากล
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
ETDA, (2017). ETDA Reveals Survey of Internet Use Behavior and E-Commerce Value Show the readiness of Thailand to become an ASEAN e-commerce owne. Retrieved January 9, 2017, from https://www.etda.or.th/content/thailand-internet-user-profile-2017-and-value-of-e-commerce-survey-in-thailand-2017l-press-conference.html>.
Panatchaya, L. (2018). Political Communication for Peace: Buddhist Integration. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Phra Akkarapisuth Loonlavan. (2017) .The process of communicating Buddhism through social media of the monks in Thai society. Retrieved October 7, 2017, from https://info.rdi.ku.ac.th/ThailandResearch/?itemID=819903>.
Phra Brahmapundit (PrayoonDhammacitto). (2017). ms.suggestsDhammajidit to produce the mass media of the Sangha. Retrieved October 7, 2017, from http://www.banmuang.co.th/news/education/89815>.
Phra Brahmapundit (PrayoonDhammacitto). (2017). Opened the “Brahma Bundit Life Wheel” asking for words at the United Nations. Retrieved October 7, 2017, from http://www.banmuang.co.th/news/education/91049>.
Phra Pramote Vadakovido (Pantapat). (2015). The Model of “Dhamma OD” for Strengthening Peaceful Organizations. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Tatsanee, J. (2011). The Buddhist Communication and the Social Change. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Thaenphan, S. (2017). Facebook usage behavior of Thai monks. Retrieved October 7, 2017, from https://www.tci-thaijo.org/index.php/journal-la/article/view/93422>.
Sainumpung, R. (2012). Buddhist way of television media literacy in Thai society. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Samran, S. (2015). A Critical Analysis of Communication Pattern for Peace in the Online Media by Buddhist Peaceful Means: A Case Study of Komchadluek.Net. (Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Veerachoti, S. (2009). Media literacy and media exposure of Ramkhamhaeng University professors during the political crisis (Research report). Ramkhamhaeng University.
Sriladda, U. (2018). Media Crisis in Thai Society: A Study and Development of Peace Journalism Model by Buddhist Peaceful Means. (Doctoral Dissertation). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.