ความยั่งยืนทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

สมาพร จันทร์ภูชงค์
สมิหรา จิตตลดากร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
สุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี
3) ศึกษาแนวทางการเสริมสร้างความยั่งยืนทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการศึกษาจากเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ฝ่ายกำกับดูแล ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และเจ้าหน้าที่รับผิดชอบ รวมทั้งหมด 27 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีการจัดทำงบประมาณแบบสมดุล โดยจะดำเนินการจัดทำร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่มีการประมาณการรายรับเท่ากับประมาณการรายจ่าย 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 2.1 ความสามารถในการจัดหารายได้ 2.2 ประสิทธิภาพในการบริหารรายจ่าย 2.3 สถานะดุลการคลัง และ 2.4 สถานะการก่อหนี้และหนี้คงค้าง 3) แนวทางการสร้างความยั่งยืนทางการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 3.1 ด้านการประมาณการรายรับแนวทางในการวิเคราะห์หรือคาดคะเนงบประมาณ ควรจะมีการแยกรายการออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ และมีการเปรียบเทียบระหว่างเวลาของแต่ละรายการด้วย 3.2 ด้านการประเมินรายจ่าย จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์การใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการใช้จ่ายต่าง ๆ และ 3.3 ด้านการพัฒนาการจัดเก็บรายได้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องแสวงหาแหล่งรายได้ใหม่ๆ ควรมีการทบทวนข้อระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับการจัดเก็บค่าธรรมเนียมให้มีความสอดคล้องกับต้นทุนของการให้บริการ เพื่อเพิ่มสัดส่วนของรายได้ที่จัดเก็บให้สูงขึ้น ควรมีการพัฒนาเพิ่มศักยภาพในการจัดเก็บรายได้ให้มีประสิทธิภาพมีการติดตามเร่งรัดการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anunchaipattana, P. (2009). Analyzing the Path to Success for Teachers with Disabilities: A Multiple Case Study. Bangkok: Chulalongkorn University.

Babbie, E. (2013). The Practice of Social Research. (13th ed.). California: Wadsworth, Cengage Learning.

Chantawanit, S. (2000). Qualitative Research Methods. (9th ed.). Bangkok: Press of Chulalongkorn University.

Chantawanit, S. (2011). Qualitative Research Methods. (19th ed.). Bangkok: Dan Sutta Printing.

FÖlscher, A. (2007). Local Fiscal Discipline: Fiscal Prudence, Transparency, and Accountability. Washington, D.C.: The World Bank.

Koedmee, S., & Wongthanavasu, S. (2013). Developmental Guidelines for Revenue of Khuan Kalong Administrative Organization, Khuan Kalong District, Satun Province. The 4th Hat Yai Academic Conference. (pp.25-32). Songkhla: Hat Yai University.

Ladbuakhaw, S. (2018). Local Elections: Limitation of Process Democracy. Romphruek Journal, 36(2), 169-196.

Miller, G J., & Hildreth, W. B. (2007). Local Debt Management. In Local Public Financial Management. Washington, D.C.: The World Bank.

Saengaumporn, A., & Adiwattasith, J. (2013). Municipal Finance Management Models Affecting Development Efficiency of Local Finance Operations in the Lower in Northeastern Region. Eastern Asia University Academic Journal, 3(2), 139-150.

Shah, A. (2007). Local Public Financial Management. Washington, D.C.: The World Bank.

Srirungruang, P. (2018). Fiscal Strength of Local Administration Organization in Chiang Rai Province. The 1st National Conference on Humanities and Social Sciences. (pp.115-124). Songkhla: Songkhla Rajabhat University.

Varunyawattana, S. (2008). Treasury Management of Local Government Organizations. Bangkok: Expertnet.