ผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานต่อสุขภาพจิตของบุคคล

Main Article Content

พระปลัดสมภาร สมภาโร
พระธรรมวัชรบัณฑิต
ประพันธ์ ศุภษร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาหลักวิปัสสนากรรมฐานในพระไตรปิฎกเพื่อการพัฒนาจิต 2) ศึกษาประสิทธิผลของการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของบุคคล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพแบบผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่เข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ณ ศูนย์วิปัสสนายุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย (ศูนย์ 2) จังหวัดปทุมธานีและยินยอมเข้าร่วมการวิจัยฯ จำนวน 50 คน ใช้สถิติ dependent T-test และ Wilcoxon Signed Ranks Test วิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า 1) วิปัสสนากรรมฐาน เป็นกระบวนการพัฒนาจิตสู่ความบริสุทธิ์แห่งจิต เป้าหมายสูงสุดคือการบรรลุ มรรค ผลนิพพาน การกำหนดรู้ในฐานทั้ง 4 ได้แก่ กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นการพัฒนาสติให้ต่อเนื่องนำไปสู่ความสงบและความตั้งมั่นของจิต (สมาธิ) ที่ประกอบด้วยสัมปชัญญะ เกิดปัญญาที่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริงว่า รูป-นามมีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เกิดขึ้นและดับไป ๆ เป็นอนิจจัง, ทุกขัง (เป็นทุกข์), อนัตตา (ไม่มีตัวตนบังคับบัญชาไม่ได้) ความรู้จากประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติฯ ทำให้จิตสงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ เกิดการปล่อยวาง (อุเบกขา) ในรูป-นาม คลายความยึดมั่น ถือมั่น มีปิติ ทำให้มีภาวะสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ 2) ประสิทธิผลการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของกลุ่มตัวอย่าง 7 คืน 8 วัน พบว่า จำนวนผู้ที่มีค่าคะแนนผิดปกติของภาวะสุขภาพจิตสูงจากความเครียดภายหลังการปฏิบัติฯ ลดลงอย่างชัดเจน ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า ผู้ที่มีภาวะสุขภาพจิตจากความเครียด 3 อาการ (ประเมินก่อนเข้าปฏิบัติธรรม) คือ อาการทางกายเนื่องจากความผิดปกติทางจิต อาการซึมเศร้า และอาการวิตกกังวล สูงถึงขั้นมีปัญหาสุขภาพจิต (แต่ยังไม่เป็นโรคจิตเวช) ภายหลังการปฏิบัติฯ มีค่าคะแนนภาวะสุขภาพจิตลดลงอยู่ในเกณฑ์ปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Charoensuk, S. (2014). Theoretical Concepts of Psychiatric-Mental Health Nursing. In Chaweewan Sattayatham, Prae chansuk and Sukjai Charoensuk (editors), Psychiatric Nursing and Mental Health (Revised version), Volume 1. (2nd ed). Bangkok: Thanapress. 90-113.

Chirasilp, S. (2020). Department of Pharmacology Faculty of Pharmacy Mahidol University. Stress. Compiled by: Chayanut Niromorn, International Affairs and Public Relations Faculty of Pharmacy Mahidol University. Retrieved May 13, 2020, from https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/47/contact.php

Chotirat, S. (2015). Literary Synthesis of Maha Satipatthana 4. (Master’s Thesis). Maejo University: Chiang Mai.

Imsuwan, y. (2020). How does stress affect health? Medical Division Support Office Armed Forces Development Command. Retrieved May 13, 2020, from http://www.medafdc.net/wp-content/uploads/2016/11/%E0.

Kabat-Zinn, Jon (2005). Coming to Our Senses: Healing Ourselves and the World Through Mindfulness. Hyperion. p. 26. ISBN 0-7868-8654-4.

Kittichayathorn, P. (2012). Styles and Steps of Community Management Movement for Drug Problem Prevention Learning Center: A Case of Thorraneekum, Khok Faet, Nong Chok, Bangkok. (Doctoral Dissertation). National Institute of Development Administration. Bangkok.

Khotchomphu, P. (2015) . The Study of Kayanupassana in the Maha Satipatthan Sutra. (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Ayutthaya.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). Aṭṭhasālinī Aṭṭhakathã Commentaries: Thai version. Bangkok: MCU Press.

Mental Health Center 6. (2020). Summary of the Performance Report for the Year 2020, Mental Health Center 6 for the fiscal year 2020.

Phra Brahmagunabhorn (P.A.Payutto). (2013). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Pali Dhamma Publishing Company.

Phraphattanta Arsapa Thera. (1989). Vipassana Teepanee Dika. (6th ed), Bangkok: MCU Press.

Phra Kru Kasemthat (Surasak Khemarangsi). (2005). Vipassana Phum. (5th ed), Boonsiri Printing Co., Ltd.

Phra Satham Chotikathammajariya, (2001). Pramathachotikha Part 3 and Part 7. Bangkok: limited partnership Dhipayawisut. P. 130.

Rugkhan, J. (2019). Concept and theory used in mental health and psychiatric nursing. College of Nursing and Health Suan Sunandha Rajabhat University. Bangkok. Retrieved November 30, 2019, from http://www.elnurse.ssru.ac.th/jiraporn_ra/pluginfile.php/107/block_html/content/.pdf

Wareeseangthip, J. et al. (2016) . A study of the effects of Anapanatikamatthi practice on quality of life of patients undergoing peritoneal dialysis. (Research Report). Ayuthaya: Buddhist Research Institute of MCU.

Yu-Pho, T. (1977). Vipassana Niyom. (4th ed). Bangkok: Sivaporn Limited Partnership.