การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทย : กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ในตำบลท่าแร่ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อวิเคราะห์หลักการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ตามหลักการของแต่ละศาสนา 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบและวิธีการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
จากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนาความ ด้วยการสร้างความเข้าใจให้แก่คนในชุมชนท่าแร่ และยอมรับซึ่งความแตกต่างในเรื่องของแนวคิดวัฒนธรรมประเพณี และความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ในการอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรม ที่เหมาะสมสำหรับสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรม ในชุมชนชาวพุทธ มีการส่งเสริมประชาชนคนในพื้นที่ ส่วนชุมชนชาวคริสต์นั้น มีการส่งเสริมการยอมรับในเรื่องความแตกต่าง ความคิด และทัศนคติที่ดีในการอยู่ร่วมกัน ซึ่งส่งผลให้การอยู่ร่วมกันในชุมชนที่มีความหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Claynatorn, V. (2001). Bansomdejchaopraya Community: A case Study of Thai Urban Community in Early Rattanakosin Period. (Research Report). Bangkok: Bansomdejchaopraya University.
Department of Religious Affairs. (2016). Department of Religious Affairs. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Ganjanapan, A. (2008). Multicultural Society in the Transition of Society and Culture. Chiang Mai: Chiang Mai University.
Lek-Prapai Viriyapant Foundation. (2017). Introduction of Pluralism. Retrieved July 30, 2017, from http://lek-prapai.org/home/view.php?id=443>
Prangthong, N. (2015). Law - Abiding and Brotherhood: The way of Democratic Peace in Short Stories. Journal of Humanities and Social Sciences SRU, 7(3), 99-120.
Office of the Tharae Subdistrict Municipality. (2017). History of Tharae Community. Retrieved August 15, 2017, from http://www.tharaesakon.go.th>
Phramaha Suthit Aphakaro, & Phrarajprariyattivethee. (2015). The Coexistence of the ASEAN Community: Concepts and Pratices in accordance with Religions. (Research Report). Bangkok: Buddhist Research Institute.
Wongwisidth, R. (2019). To put yourself in others' shoes. Retrieved March 24, 2019, from http://gasworkpark.blogspot.com/2013/03/blog-post.html>
Yongyon, B. (2010). A Development of Multicultural Education Model in Elementary School. Bangkok: Department of Cultural Promotion.