การศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสร้างคำในมหากาพย์เสานทรนันทะ ตามหลักคัมภีร์อัษฏาธยายีของปาณินิ

Main Article Content

พระมหาโกมล กมโล
ปรมัตถ์ คำเอก
จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของปาณินิและพระอัศวโฆษ 2) เพื่อศึกษาบทต่าง ๆ ลักษณะของฉันทลักษณ์และอลังการในมหากาพย์เสานทรนันทะ 3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์กระบวนการสร้างคำตามหลักไวยากรณ์คัมภีร์อัษฏาธยายีของปาณินิ ฉันทลักษณ์ และอลังการ ในมหากาพย์ เสานทรนันทะ บทความวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยกระบวนการวิจัยเชิงเอกสาร (documentary research) กรณีศึกษาคือกระบวนการสร้างคำในมหากาพย์เสานทรนันทะตามหลักคัมภีร์อัษฏาธยายีของปาณินิ ได้มาโดยการเก็บรวมรวบเอกสารข้อมูลทั้งชั้นปฐมภูมิและทุติยภูมิ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ปาณินิมีชีวิตอยู่ในช่วง 400 ปีก่อน ค.ศ. เกิดในสกุลพราหมณ์ มีชื่อว่า ปาณินิ ท่านมีผลงานคือคัมภีร์อัษฏาธยายี ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาที่ละเอียดผ่านการคัดกรองมาอย่างดี ทั้งเสียง อักษร และหลักไวยากรณ์ จนได้รับยกย่องเป็นบิดาภาษาสันสกฤตมาตรฐาน ผลงานของท่านยังคงเป็นต้นแบบที่เป็นพื้นฐานของทฤษฎีทางภาษาศาสตร์สมัยใหม่ มีอิทธิพลต่อหลักคณิตศาสตร์ ภาษาศาสตร์และปรัชญาอินเดีย 2) พระอัศวโฆษมีชีวิตอยู่ระหว่าง 50 ปีก่อน ค.ศ. ถึง ค.ศ. 100 เป็นกวีคนแรกที่แต่งบทละครสันสกฤต ได้รับ ยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งบทละครสันสกฤต ท่านได้นำไวยากรณ์สันสกฤตมาพัฒนาต่อยอดผลิตผลของไวยากรณ์ ในรูปของบทกวี เช่น พุทธจริต เสานทรนันทะ เป็นต้น จนได้รับยกย่องว่าเป็นมหากาพย์ที่มีอิทธิพลต่อ ความเจริญรุ่งเรืองของวรรณคดีสันสกฤตในสมัยต่อมา 3) กระบวนการสร้างคำตามตำราเรียนในปัจจุบันเป็นการทำให้ง่ายขึ้นสำหรับการเรียนไวยากรณ์สันสกฤตแบบใหม่ ซึ่งไม่ละเอียดเหมือนกระบวนการสร้างคำแบบอ้างอิงสูตร ปาณินิ ส่วนฉันทลักษณ์ในมหากาพย์เสานทรนันทะ สรรคที่ 1, 2 และ 3 จำนวน 169 โศลก มีฉันท์ประเภทต่าง ๆ คือ 1) อนุษฏุภฉันท์ 8 พยางค์ 2) ตริษฏุภฉันท์ 11 พยางค์ 3) อติชคตีฉันท์ 13 พยางค์ 4) ศักวรีฉันท์ 14 พยางค์ 5) วาควัลลภฉันท์ โศลกที่มีคณะไม่เท่ากัน 6) อุปชาติ โศลกที่มีคณะเสมอกันครึ่งหนึ่ง และอลังการ เป็นต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhattacharya B. (1976). Asvaghosa: A critical Study. Culcatta: Santiniketan, Bisvabharati publication.

Bod, R. (2013). A New History of the Humanities: The Search for Principles and Patterns from Antiquity to the Present New York. New York: Oxford University Press.

Kunhan Raja, C. (1962). Survey of Sanskrit Literature. Bombey: Bharata Vidya Bhavan.

Cardona, G. (1976). Pāṇini: A Survey of Research. Delhi: Motilal Banarsidass.

Covill, L. (2009). A Metaphorical Study of Saundarananda. New Delhi: Motilal Banarsidass Publishe.

Sarapatnuek, J. (1928). History of Sanskrit Literature (Re-view version). Bangkok: Graduate school, Silpakorn University.

Dvivedī, K. (1983). Laghusiddhāntakaumudī. Vārānasī: visvavidyalaya.

Johnston E.H. (1928). Saundarananda Kāvya. Lahor: University of Punjab.

Keith, A.B. (1973). A History of Sanskrit Literature. Delhi: oxford University Press.

Kiparsky, P. (2008). On the Architecture of Panini’s Grammar. Retrieved May 3, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/221145943.

Kumar, S. (1979). Asvaghosa as a Poet and Dramatist: a Critical Study. (Doctoral Dissertation). The University of Burdwan. West Bengal.

Nariman, J.K. (1992). Literacy History of Buddhist Sanskrit. Delhi: Motilal Banarsidass.

Phragandhasarabhiwong. (2008). Vuttodayamanjari: A Comparative Study of Pali Prosody. Bangkok: C.A.I Centre Ltd.

Rajaradhakantadeva. (1987). Sabdakalpadaruma. Delhi: New Gian offset Printers.

Luemsai, S. (2000). Asvaghosa’s Saunadarananda Epic. Bangkok: Mahachulalongkornrajavidayalaya University.

Singh, U. (2008). A History of Ancient and Early Medieval India. Delhi: Pearson Education India.

Staal, F. (1988). Universals: studies in Indian logic and linguistics. USA: University of Chicago Press.

The Authority of His Majesty’s Secretary of State for India in council. (AHSI). (1909). The Imperial Gazetteer of India, Vol. II. London: Oxford University Press.

Warder, A.K. (1974). Indian Kāvya Literature: Origins and Formation of the Classical Kāvya. Delhi: Motilal Banarsidass.