อิทธิบาท: แนวทางการเสริมสร้างสติเพื่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย อิทธิบาท

Main Article Content

จินดามาศ ทินกร
พระปราโมทย์ วาทโกวิโท

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้นำเสนอการนำกรอบแนวคิดอิทธิบาทมาเป็นแนวทางการเสริมสร้างสติเพื่อการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย ผ่านอิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน กล่าวคือ การฝึกสติให้เกิดขึ้นต้องเกิดฉันทะ ความพอใจที่จะฝึก วิริยะ มีความเพียรต่อเนื่อง จิตตะ ใส่ใจทบทวน และวิมังสา มองเห็นคุณค่าความสำคัญของการฝึกสติ แนวทางการมีสติในการดำเนินชีวิตของผู้สูงวัย ประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ การใส่ใจในอาหาร การออกกำลังกาย และ อารมณ์ 1. อาหาร ควรมีสติพอใจในการรู้จักเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เคี้ยวอาหารอย่างละเอียด มีความพากเพียร มีสติ ไม่รีบร้อน มีจิตตะเอาใจใส่ในการปรุงอาหาร เคี้ยวอาหาร และ วิมังสา พิจารณาไตร่ตรองอาหารที่เลือกมีประโยชน์และโทษระยะยาวหรือไม่ 2. การออกกำลังกาย คือ มีสติในขณะการออกกำลังกาย มีความรัก ความพึงพอใจที่จะออกกำลังกาย เลือกวิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง ไม่หักโหมหรือหนักเกินไป อาจเป็นการเดิน โยคะ ลีลาศ ว่ายน้ำ มีความพากเพียรต่อเนื่อง ออกกำลังกายบ่อยๆ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ พร้อมทั้งพิจารณาไตร่ตรอง รอบคอบ การออกกำลังกายถูกวิธี และ 3. อารมณ์ คือ มีสติควบคุมอารมณ์และการจัดการอารมณ์ เมื่อไม่พอใจ เป็นทุกข์ใช้สติในการคิดพิจารณาเพื่อให้รู้เท่าทัน มีความอดทนอดกลั้นได้ พูดคุยและปฏิสัมพันธ์กับพื่อนสนิทที่ไว้ใจได้ มีการไหว้พระสวดมนต์ การแผ่เมตตา โดยรวมจะส่งผลให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพจิตที่ดี ผ่องใส สงบ วางตัวเหมาะสม จิตใจไม่ฟุ้งซ่าน ไม่มีความเครียด เกิดการคิดพิจารณาใคร่ครวญถึงปัญหา และทางออก พร้อมทำใจยอมรับสภาพได้ ส่งผลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Bureau of Elderly Health. (2015). 70-hour Elderly Health Care Training Handbook (No.6). Bangkok: Kaew Jaow Jom Media and Printing, Suan Sunandha Rajabhat University.

Bureau of Health Promotion. (2012). Elderly’s Health Promotion Handbook for Health Personnel. Bangkok: Kaew Jaow Jom Media and Printing, Suan Sunandha Rajabhat University.

Chaiyo, W. (2019). “The Research on the Concept of Happiness in the Elderly: A Case of Ban Wai Tong Niwet.” Ratchasuda College Journal, 15(1), 54-62.

Department of Health Service Support. (2017). Family Health Volunteer Handbook: Long Term Care Group. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand Printing House.

Ditsayavanich P., & Ditsayavanich J., (2001). Mental health status and development of Vipassana meditation. Clinical Psychology jornal, 32.

Foundation of Thai Gerontology Research and Development Institute. (2015). The Report of the Situation of the Elderly in Thailand B.E.2557. Bangkok: Amrin Printing and Publishing.

Hongsuwan, P., & Pengwong, K. (Eds.) (2017). Health Care Guideline Book following 3 Principles: Food, Exercise, and Emotion. Bangkok: Thep Phen Wanit Ltd.

Jiraprapa, K., & Nuampetch, T. (2018). Press Conference ‘What Statistic tells us – Elderly Today and Tomorrow’. Retrieved April 30, 2020, from http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/Press_Release/2561/N10-04-61-1.aspx

Kanjana, S., & Thepphawan, A. (1991). Common problems in the elderly (Brochure). Retrieved January 10, 2021, from https://budhosp.tripod.com/elderly.htm

Kimsuwannawong, P. (2011) “ The Hoslistic Health Care for Older Adults following Buddhist Concept” . (Doctoral Dissertation). Graduate School: Mahachulalongkornrajavidyala University. Ayutthaya.

Netwong, T., & Thirawan, R. (2019). “The Effect of the Promotion Health Program to Enhance Mind Health for Elderly Following the Main Buddhist.” Ratchasuda College Journal, 15 (1), 50-62.

Phra Brahmagunabhorn (P.A. Payutto). (2008). Dictionary of Buddhism. (12th ed.) Bangkok: MCU Press.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (1999). Buddhadhamma. (9th ed.) Bangkok: Mahachula longkornrajavidayala University.

Phra Dhammapitaka (P.A. Payutto). (2000). Dhamma and Work. (3rd ed.) Bangkok: Sukhapab Jai.

Phramaha Amnad Pavaddhano. (2013). Education Administration according to Iddhipada. Bangkok: MCU Press.

Phra Methidhammapon (Prayun Dhammachitto). (1996). ‘IddhiPathakatha’ Buddhajak. Bangkok: MCU Press.

Phra Rajyanvisith (Sermchai Chayamongkol). (2003). The Success of Dharmic Principle to The Success and Peace. Bangkok: Thammasapa.

The National Committee of the Elderly. (2010). The 2nd National Plan on The Elderly (2002-2021) The First Edition of 2009. Bangkok: Theppenwanis.

Vipassana Insight Meditation Study and Practice. (2018). Chanting Book (Translation) and Vipassana-Kammatthana Development. (6th ed.) Nonthaburi: Nititham Printing.

Wongphirhomsarn Y., (2014). Mindfulness in Organization: MIIO. Bankok: Beyond Publishing Company Limited.

Worra-urai, S. (2007). Making A Good and Happy Life. Bangkok: Amarin Printing.