การพัฒนาครูโดยใช้การจัดการความรู้ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน

Main Article Content

จิติมา วรรณศรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน เป็นการวิจัยและพัฒนา โดย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องในการสร้างรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน โดยใช้การวิเคราะห์เอกสาร และตรวจสอบรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 9 คน โดยใช้แบบประเมินรูปแบบ 2) ทดลองใช้รูปแบบ โดยเครื่องมือวิจัยเป็นแบบประเมินสำหรับครูกลุ่มเป้าหมายคือ ครูจำนวน 24 คนที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และ 3) ประเมินความเป็นประโยชน์และความพึงพอใจของรูปแบบ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 10 คน และครูจำนวน 24 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการสร้างและตรวจสอบรูปแบบการพัฒนาครูโดยใช้การจัดการความรู้เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการจัดการความรู้ องค์ประกอบที่ 2 การประยุกต์ใช้ความรู้ในการจัดกิจกรรมพัฒนาการคิด องค์ประกอบที่ 3 ความสามารถของครู 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการความรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และมีความสามารถในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนอยู่ในระดับมาก 3) ผลการประเมินรูปแบบพบว่า มีความเป็นประโยชน์ของรูปแบบ และความพึงพอใจของครูอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ahmed, P. K., & Shepherd, C. D. (2010). Innovation Management: Context, Strategies, Systems and Process. Harlow, England: Pearson Education.

Baker, T., Ever, G., & Brock, R. (2017). Targeted Teaching. London: SAGE.

Bates, B. (2016). Learning Theories Simplified. Los Angeles: SAGE.

Hislop, D., Bosua, R., & Helms, R. (2016). Knowledge Management in Organization: A Critical Introduction. (4th Ed.). New York: Oxford University Press.

Office of The Education Council. (2010). The Research Report of Thailand Education Imagery in The Future 10-20 Years. Bangkok: Pimdee Ganpim.

Peuchthonglang, Y., & Peuchthonglang, P. (2019). Community of Practice (CoP): Knowledge Management for Manufacturing of Creative Cultural Handicraft Products in Muang Sat Community Muang District, Chiang Mai. Journal of MCU Peace Studies, 7(5),1474-1490.

Robbins, S., & Coulter, M. (2018). Management. (14th Ed.). Harlow: Pearson.

Sanzo, K. (2016). Strategies for Developing and Supporting School Leader: Stepping Stones to Great Leadership. New York: Routledge.

Sinlarat, P. et al. (2014). Need to be Revolution of Thailand Education. Bangkok: Chulalongkorn University Publication.

Sinthapanon, S. et al. (2019). Diverse of Teaching Method for Developing Thai Youth. Bangkok: 9119 Technique Printing.

Wongsuvan, S. (2013). A Study of Teacher Development on Teaching using Knowledge Management in Banpakthang School under Phijit Municipality. Phitsabulok: Faculty of Education, Naresuan University.