ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะ การวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย

Main Article Content

อารีย์รัตน์ โนนสุวรรณ
ธีรชัย นตรถนอมศักดิ์
นฤมล อินทร์ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียน การสอน ด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับนักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย ของสถาบันผลิตครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากร ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 65 คน นักศึกษาครู สาขาวิชาภาษาไทย จำนวน 1,260 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 12 คน และนักศึกษาครู จำนวน 120 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างการวิจัย แบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามความคิดเห็น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และ 2) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วยการสรุปผลเป็นภาพรวมค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการหาค่าดัชนีลำดับความสำคัญของกความต้องการจำเป็น ระหว่างสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI) ระหว่างสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่ควรจะเป็นในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน มีความแตกต่างกันทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ความต้องการและความจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง สำหรับอาจารย์ โดยรวมมีค่า PNI = 0.22 ในขณะที่สำหรับนักศึกษา โดยรวมมีค่า PNI = 0.19 และด้านที่ 2 ความต้องการและความจำเป็นเกี่ยวกับการพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน สำหรับอาจารย์ โดยรวม มีค่า PNI = 0.29 ในขณะที่สำหรับนักศึกษาโดยรวมมีค่า PNI = 0.16 ผลการสัมภาษณ์ พบว่า อาจารย์และนักศึกษามีความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนด้วยแนวทางการเรียนรู้เชิงรุกและการกำกับตนเอง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียน เนื่องจากการเรียนรู้เชิงรุกเป็นการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน โดยการได้รับคำแนะนำจากผู้สอนอย่างใกล้ชิด ผู้สอนได้ใช้สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีการวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามสภาพจริงและหากผู้เรียนมีความสามารถในการกำกับตนเองในการเรียนรู้จะส่งผลให้การวิจัยในชั้นเรียนประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bandura, A. (1986). Socail foundations of thought and action: A social cognitive theory.Englewood Cliffs NJ:Prentice – Hall.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. Washington D.C.: ERIC Clearinghouse on Higher Education.

Chantawanich, S. (2010). Qualitative data analysis. Bangkok: Chulalongkorn Publishing University.

Dale, Edgar. (1965). Audio – Visual Methods Teaching. (2nd ed.) New York: Hot, Rinchart and Winston.

Dechakhup, P., & Yindisuk, P. (2017). 7C skills for teachers 4.0.Bangkok: Chulalongkorn University. Iamsuphasit, S. (1998). Theories and techniques of behavior modification. (3rd ed.). Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Kaeocharoenkit, N. (2007). The role of the teacher in organizing activities and methods of implementing the Active Learning guidelines. Retrieved July 25, 2019, from http://www.itie.org.

Krutthong, K. (2013). Teaching and learning management Research-Based Learning (RBL). Retrieved October 25, 2013, from http://isdc.rsu.ac.th/kmweblog.php?page=detail&id=2

Naiphat, O. (2015). Measuring learners in the modern world of 21st century learning. Documentation for Moral and Ethical Evaluation (According to the standard Framework National qualifications -TQF). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Office of the Basic Education Commission (2017). PLC Process Driving Training Manual (Professional Learning Community) Professional learning community. To school.

Office of the Higher Education Commission (2010). Handbook of Internal Educational Quality Assurance, Higher education institutions 2010 (November 2010issue).Bangkok: Office of the Higher Education Commission.

Phakdichit, Y. (2014). Results of the learning process of the project model in the course study. Develop a curriculum. Nakhon Sawan: Faculty of Education, Nakhon Sawan Rajabhat University.

Pintrich, & De-Groot. (1990). Understanding and Self-Regulation Learning.San Francisco: Jossey Bass Plublishers.

Sinthapanon, S. (2017). Modern teachers and learning to Education 4.0.Bangkok: Chulalongkorn University.

Suwannawayla, C. (2002). Thai Higher Education. Bangkok: Faculty of Education, Chulalongkorn University.

The Secretariat of the Teachers Council of Thailand. (2013). Practice Manual for Extension of Educational Professional License. Bangkok: The Teachers Council of Thailand.

Watthayu, K. (2005). Research to improve educational quality. Bangkok: Thanaporn Printing.

Zimmerman, B. J. (1989). A Social Cognitive View of Self-Regulated Academic Learning. Journal of Educational Psychology, 81(3), 329–339.