ภาพสะท้อนสังคมพุทธในเรื่องเล่าผีเขมร

Main Article Content

สัจจภูมิ ละออ
อุเทน วงศ์สถิตย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อทราบพัฒนาการความเชื่อเรื่องผีเขมร 2) เพื่อทราบ กลุ่มผีเขมร และ 3) เพื่อทราบภาพสะท้อนทางสังคมจากเรื่องเล่าผีเขมร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้เรื่องเล่าผีจำนวน 100 เรื่อง มี 4 ประเภทคือ นิทานพื้นบ้านเขมร นิทานเรื่องผี เรื่องสั้น และนิยาย ได้มาโดยสำรวจและเก็บข้อมูลเอกสารจากประเทศกัมพูชา และเว็บไซต์ภาษาเขมร ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการด้านความเชื่อเรื่องผีเขมร ช่วงแรกมีความเชื่อว่าผีอยู่ในธรรมชาติ อาทิ ในน้ำ ป่า เขา และมีผีบรรพบุรุษ เมื่อรับพระพุทธศาสนาเข้ามา จึงรับเอาคติความเชื่อเรื่องผีในศาสนาพุทธ และเมื่อเครื่องมือสื่อสารพัฒนา จึงรับความเชื่อเรื่องผีจากวัฒนธรรมภายนอก 2) ผีเขมรแบ่งตามพัฒนาการการนับถือได้ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. ผีดั้งเดิม คือผีที่อยู่คู่กับสังคมเขมรมาแต่บรรพกาล 2. ผีพุทธ คือผีที่เกิดจากอิทธิพลความเชื่อของศาสนาพุทธ และ 3. กลุ่มผีจากวัฒนธรรมภายนอก คือผีที่เข้ามาในสังคมเขมร เมื่อโลกการสื่อสารก้าวหน้า 3) ภาพสะท้อนทางสังคมในเรื่องเล่าผีเขมร ในกลุ่มผีดั้งเดิม ชาวเขมรเชื่อว่าเป็นผีบรรพบุรุษที่ให้ความคุ้มครอง ควบคุมพฤติกรรมคนในสังคม และช่วยบันดาลความสุขให้ กลุ่มผีพุทธ มี 3 จำพวกตามคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ 1. สัมภเวสี 2. เปรต และ 3. อสุรกาย ส่วนกลุ่มผีจากวัฒนธรรมภายนอก ชาวเขมรนำเข้ามาเพื่อความบันเทิง ไม่มีพิธีกรรม ส่วนภาพสะท้อนทางสังคมอื่น ๆ จากเรื่องเล่าผีเขมร มีทั้งด้านความเชื่อเรื่องผี ด้านไสยศาสตร์ ด้านพุทธศาสนา และด้านนิเวศวิทยา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Choatanyano, C. (1967). Dictionnaire Cambodgien. (5th ed.). Phnom Penh: Institut Bouddhique.

Hoc Dy, K. (2004). Piteehawpraleung (comfort ceremony). Phnom Penh: AngKor.

Kromtumnaimtumluab khmer. (2001). Prachumreungpreng Khmer Part8 (Cambodian Folk Tales). Phnom Penh: Rongpum Abrom.

Kimsun, S., & Van, S, (2009). Khmoc Derm Jek Chavia (Ghost on Large Banana Tree). Phnom Penh: Reading Books.

Kiang Eun, P. (2006). An Analysis of Social Reflections Shown in Korean Folktales. (Master’s Thesis). Graduate School: Srinakharinwirot University. Nakhon Pathom.

Lee, S. (2006). Piteehawpraleung Tamrabiabboran. (Royal ceremony According to the ancient ceremony). Phnom Penh: Meng Har Printing House.

Ly, T. (2012). Khoc wat Praputh (Ghost Preaputh Pagoda). Phnom Penh: Books World.

Mahachulalongkornrajavidyalaya Universiry. (2016). Man and Society. (3th ed). Bangkok: Mahachulalongkornrajavidyalaya Universiry Press.

Ngea, T. (1983). Pravattisas Khmer. (Khmer history). Phnom Penh: Rongpum Abrom.

Na Thalang, S. (2014). Folklore Theory. (3th ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Phally, S. (n.d.). Dangkhao Spirit (Millionaire Ghost). Phnom Penh: Taphrom.

Ratanakul, S. (2004). Non-human being in Eastern and Western Cultures. Humanities Journal, 5, 1-17.

Sanyavivatr S, (2550).Sociological Theory. (12th ed). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Soo, M. (2005). Ariyathor Khmer (Civilization Khmer). Phnom Penh: IIC Press.

Sotheary, K., & Sopheark, V. (2009). Khmoc Derm Jekchva (Ghost on Large Banana Tree). Phnom Penh: Reading Books.

Soy, S. (2015). Khoc Tiarrobos (Ghost requesting return treasure). Retrieved June 8, 2019, from https://news.sabay.com.kh/article/560428.

Sujjapun, R. (2001). Science and Art of Literature. Bangkok: Prsphansarn.

Yongboonkerd, C. (2014). Record of the traditions of Jhenla. (3th ed). Bangkok: Matichon.

Yuk, Th. (2004). Pisac Saneha (Devil's love). Phnom Penh: n.p.