การใช้สื่อสังคมในการสื่อสารกระบวนการสันติภาพ ขององค์กรภาคประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

ปวิชญา ชนะการณ์
ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ศึกษาการใช้สื่อสังคมเพื่อการสื่อสารกระบวนการสันติภาพขององค์กรภาคประชาชน
ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในแฟนเพจ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย แฟนเพจ จำนวน 42 เพจ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์ ดังนี้ 1) มีความเคลื่อนไหวต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน
2) มีจำนวนผู้ติดตามตั้งแต่ 300 ขึ้นไป และ 3) เป็นแฟนเพจทางการขององค์กรภาคประชาชน การวิจัยนี้มีผู้วิเคราะห์เนื้อหา 3 คนเพื่อตรวจสอบความตรงของข้อมูลแบบสามเส้า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS
โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย


            ผลการวิจัยพบว่า มีองค์กรภาคประชาชน 42 แห่งที่มีแฟนเพจเป็นทางการ แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่ องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรสื่อและสำนักข่าวท้องถิ่น กลุ่ม/เครือข่ายนักศึกษา และองค์กรชุมชน มีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารผ่านสื่อสังคม คือ ช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน (ร้อยละ 23.8) ส่งเสริมบทบาทเด็กและสตรี (ร้อยละ 21.4) ผลิตสื่อและข่าวสารชายแดนใต้ (ร้อยละ 14.3) และส่งเสริม/สนับสนุนกระบวนการสันติภาพ (ร้อยละ 7.1) ส่วนใหญ่มุ่งเผยแพร่เนื้อหาประเภทกิจกรรมองค์กรและเครือข่าย มีเพียง 7 เพจ/องค์กรเท่านั้นที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10,000 ได้แก่ มีเดียสลาตัน สำนักสื่อวัรตานี กลุ่มนักศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มสายบุรีลุกเกอร์ ปาตานีฟอรั่ม กลุ่มนักศึกษาจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข และข่าวภาคใต้ชายแดน ส่วนวิธีการสื่อสารที่กระตุ้นให้ผู้ติดตามมีปฏิสัมพันธ์ผ่านการกดถูกใจ เผยแพร่ต่อ และแสดงความคิดเห็นมากที่สุด คือ การถ่ายทอดสด การวิจัยยังพบว่าประเด็นเนื้อหาที่เผยแพร่ในเพจส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสันติภาพโดยอ้อม แต่ที่เกี่ยวกับกระบวนการสันติภาพโดยตรงนั้นมีเพียงเล็กน้อย

Article Details

How to Cite
ชนะการณ์ ป., & ไค่นุ่นนา ภ. (2022). การใช้สื่อสังคมในการสื่อสารกระบวนการสันติภาพ ขององค์กรภาคประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(1), 281–293. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247169
บท
บทความวิจัย

References

Chaichuy, P., & Satararuji, K. (2016). Thailand’s public issue communication through a communication innovation for campaign, website “Change.org”. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1526-1536.

G., M. G. (2014). A Critical Assessment of Conflict Transformation Capacity in the Southern African Development Community (SADC): Deepening the Search for a Self-Sustainable and Effective Regional Infrastructure for Peace (RI4P). Hiroshima: Hiroshima University.

Ghaus-Pasha, A. (2005). Role of Civil Society Organizations in Governance. Retrieved April 15, 2019, from https://pdfs.semanticscholar.org/4fd4/98b7d3d0a3f8c1508aac90db35d1d0b318bc.pdf.

Irenees. (2007). Negative versus Positive Peace. Retrieved December 15, 2020, from http://www.irenees.net/bdf_fiche-notions-186_en.html#:~:text=Negative%20peace%20refers%20to%20the,stopped%2C%20the%20oppression%20ended).

Isranews. (2015). Women in deep south of Thailand need the safe zone in markets and streets. Retrieved April 30, 2019, from https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/42966-market_42966.html.

Johnson, K. (2014). Digital and Interactive Media. Retrieved October 20, 2019, from https://www.slideshare.net/sallyshredder/digital-and-interactive-media.

Komolnimi, T. (2011). New Media Creates the Public Sphere of Politics and Sensitive Suggestions on Nakon Patani. Retrieved April 30, 2019, https://thitinob.com/node/89.

Lederach, J. P. (1997). Building Peace: Sustainable Reconciliation in Divided Societies. Washington DC: United States Institute of Peace Press.

Lederach, J. P. (2003). Conflict Transformation. Retrieved April 15, 2019, from https://www.beyondintractability.org/essay/transformation.

Miall, H. (2004). Conflict transformation: a Multi-Dimensional Task. Retrieved October 1, 2020, from https://core.ac.uk/download/pdf/71735641.pdf.

Paffenholz, T. (2009). Understanding Peacebuilding Theory: Management, Resolution and Transformation. Retrieved April 15, 2019, from https://peacemaker.un.org/sites/peacemaker.un.org/files/ConfictTransformation_NewRoutes2009.pdf.

Prachathai. (2012). The Insider Must be a Torchbearer for Peace.Retrieved April 30, 2019, from https://prachatai.com/journal/2012/09/42469.

Treré, E. (2019). Hybrid Media Activism: Ecologies, Imaginaries, Algorithms. London: Routledge.