การศึกษาทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ สำหรับนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

Main Article Content

ประภา เทียนเกษม
จักรกฤษณ์ โปณะทอง
จตุพล ยงศร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพความเป็นจริงและสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการด้านทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ สำหรับนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน และ 2) เพื่อประเมินสภาพความเป็นจริงและสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการด้านทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ สำหรับนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ใช้ในการสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง ให้ได้แนวคิด ความหมาย สาระสำคัญ และองค์ประกอบของทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ เพื่อนำไปเป็นข้อมูลในการสร้างแบบสอบถามเพื่อประเมินสภาพความเป็นจริงและสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการด้านทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ คือ อาจารย์ผู้สอน ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 5 คน และนักศึกษาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 ในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน จำนวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มที่ใช้ในการประเมินสภาพความเป็นจริงและสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการด้านทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ คือ ผู้ใช้บัณฑิตที่รับนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเข้าทำงาน จำนวน 400 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ประเภท คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบบรรยาย และแบบสอบถามความคิดเห็นเพื่อประเมินสภาพความเป็นจริงและสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการด้านทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ทุกข้อจะมีคำตอบ 2 สภาพ คือ สภาพความเป็นจริงและสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เรียงลำดับความ สำคัญของค่าเฉลี่ยด้วยค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI modified) และวิเคราะห์เนื้อหาในรูปแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพความเป็นจริงด้านทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ สำหรับนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนอยู่ในระดับต่ำกว่าสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการในทุกด้าน ควรส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะดังกล่าวให้แก่นักศึกษา 2) การประเมินสภาพความเป็นจริงและสภาพที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการด้านทักษะเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ สำหรับนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ด้านทักษะคิดสร้างสรรค์สูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านทักษะคิดผลิตภาพ ด้านทักษะคิดวิเคราะห์ และด้านทักษะคิดรับผิดชอบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Beasiri, S. (2007). A Development of a Training Program for Undergraduate Students with Art Activities to Develop Creative Thinking and Productive Skills. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers, lnc.

Education Reform Office. (2010). National Education Act Amendment (Third National Education Act.B.E. 2553 (2010). Bangkok: n.p.

Gardner, H. (2009). Five Minds for the Future. London: Harvard Business Review Publishing.

Hannongbua, S. (2016). Learning Management for Education 4.0. Learning Management for Education 4.0. Valaya Alongkorn Rajabhat University Under The Royal Patronage.

Matichon Online. (2018). The way to survive. The choice For Private Higher Education Institutions. Retrieved on June 22, 2018 from https://www.matichon.co.th/education/news_787866.

Montiraj, K. (2016). Development of Training Program Using Constructionism Theory to Develop Critical, Creative, Productive, and Responsible Mind (CCPR) of Higher Education Students in Communication Arts of Private Higher Education Institutions. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Office of the National Economic and Social Development Board. Office of the Prime Minister. (2019). Summary The Twelfth National Economic And Social Development Plan (2017-2021). Retrieved January 10, 2019 from https://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420.

Patrawart, K. (2016). Driving Thai Education to Thailand 4.0. Retrieved March 23, 2018, from http://www.thaihealth.or.th/Content/33499.

Sinlarat, P. (2011). CCPR New Education Framework. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sinlarat, P. (2016). Thai Education 4.0: Philosophy of Creative and Productive Education. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Vanichbuncha K. (2006). Statistic for research. (2nd ed.). Bangkok. Chulalongkorn University Press.

World Economic Forum. (2018). The Future of Jobs Report 2018. Retrieved July 20, 2019, from https://www3.weforum.org/docs/wef_future_of_jobs_2018.pdf