ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า ชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

กานต์พนธ์ เตชะเดชอภิพัฒธ์
วิจิตรา ศรีสอน
สัณฐาน ชยนนท์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบกึ่งโครงสร้าง มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหารระดับสูง ผู้ประกอบการ SME ในพื้นที่การค้าชายแดนไทย-สปป.ลาว เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SME และประชาชนในพื้นที่  รวมทั้งสิ้น 20 คน และจัดกลุ่มสนทนา 10 คน วิเคราะห์แบบอุปนัย เป็นการตีความ สร้างข้อสรุปของข้อมูล ที่เป็นรูปธรรมและตรวจสอบข้อมูลโดยเทคนิคสามเส้า ด้านคน เวลา และสถานที่


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประเทศไทยได้เปรียบดุลการค้าชายแดนและเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด น้ำมันดีเซลเป็นสินค้าส่งออกที่มีมูลค่าสูงที่สุด สำหรับสินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า ประเทศไทยพึ่งพาลาวในด้านการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ ในระบบการค้าผ่านแดนเพื่อป้อนเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 2) จุดแข็ง คือ มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ชายแดนติดกับไทย 17 เขต จุดอ่อน คือ ปัญหาการขนส่งมีต้นทุนสูง ขาดแรงงาน โครงสร้างพื้นฐานไม่เอื้อต่อการค้า โอกาส คือ ลาวเป็นศูนย์กลางสินค้าไทยไปเวียดนาม จีน อุปสรรค คือ การขาดนักการตลาดเชิงรุกมืออาชีพ และสินค้าปลอมแปลง 3) ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าชายแดนของไทยกับลาว ใช้ยุทธศาสตร์ BETS ได้แก่ (1) การพัฒนาชายแดน (Border Development) (2) เศรษฐกิจ (Economy)  (3) การท่องเที่ยว (Tourism) และ (4) เงื่อนไขความสัมพันธ์ (Social Condition) ภายใต้ยุทธศาสตร์ BETS จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาศักยภาพความร่วมมือการค้าไทยและลาว บนพื้นฐานความสัมพันธ์ ด้านประเพณีและวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ

Article Details

How to Cite
เตชะเดชอภิพัฒธ์ ก., ศรีสอน ว., & ชยนนท์ ส. (2022). ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้า ชายแดนไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1093–1105. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/247037
บท
บทความวิจัย

References

Angeles, V. M. (2015). U.S.-Mexico economic relations: Trends, issues and implications. Retrieved August 25, 2019, from https://fas.org/sgp/crs/row/RL32934.pdf

Chotinisakorn, A. (2018). Open treasure “Thai border”. Nonthaburi: Foreign trade. Ministry of Commerce.

Department of International Trade Promotion. (2015). Thai-Laos Border Trade: Developing the Potential of Thai Border Trade to Laos and to Third Countries. Department of International Trade Negotiations, Office of ASEAN: Nonthaburi.

Meepokee, Ch. et al. (2011). Industrial Economics. Bangkok: Thammasat University Printing House.

Office of the National Economic and Social Development Board. (2018). Border trade with the ASEAN community. Bangkok: Office of the National Economic and Social Development Board.

Phatsiriworakun, C. (2018). Economic knowledge Follow the popular world. Retrieved August 25, 2019, from https://www.ditp.go.th/contents_attach/152202/152202.pdf

Phuakbuakhao,P., Thuwanut, P., & Phaopuntee, Ch. (2017). Policy formulation to promote Thai-Myanmar border trade, Prachuap Khiri Khan Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 68 -85.

Saichua, S. (2010). Debt is the foundation of the economic crisis. (2nd ed.). Bangkok: Publisher of Chulalongkorn University.

Sangvanich, K.W., & Chuppunnarat, Y. (2018). Influences of culture from outside ASEAN: Values, lifestyle, and arts study in Thailand and Laos. Journal of Urban Culture Research, 17, 90-102.

Sirinukul, Ch. (2008). Trade promotion in neighboring markets (Lao PDR). Bangkok: Department of Export Promotion, Ministry of Commerce.

Sontichirawong, S. (2018). International Business Administration: Management Theory and Strategy. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Surifai, T., & Manmart, L. (2018). Role of Border Trade in Community Economic Development A Case Study Nong Khai, Nakhon Phanom and Mukdahan provinces. Administrative Politics Journal, 8(1), 153-176.

The Thai Chamber of Commerce and the Federation of Thai Chamber of Commerce. (2011). Trade and Investment Handbook, Lao People's Democratic Republic. Bangkok: The Thai Chamber of Commerce and the Chamber of Commerce of Thailand.