โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของครอบครัวเข้มแข็งในสังคมไทย

Main Article Content

พระมหาเผื่อน กิตฺติโสภโณ
ศักดิ์ชัย สักกะบูชา
พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนฺโท
นาฏนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของครอบครัวเข้มแข็งในสังคมไทย และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของครอบครัวเข้มแข็งในสังคมไทย ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ กลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพและและจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม และปทุมธานี จำนวน 1,200 คน ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ครอบตัวเข้มแข็ง การทำหน้าที่ของครอบครัว ฆราวาสธรรม 4 และความผาสุกทางจิตวิญญาณ  ผู้วิจัยได้ทบทวนวรรณกรรมเพื่อสร้างโมเดลเชิงทฤษฎีซึ่งประกอบไปด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวคือ 1) ฆราวาสธรรม 4 ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรแฝง 4 ตัวคือ ความจริงใจ (สัจจะ) ทมะ(ความข่มใจ) ขันติ (ความอดทน) และจาคะ (ความเสียสละ) 2) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุด้วยโปรแกรมวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง


            ผลการวิจัยพบว่า 1) โมเดลเชิงสาเหตุของครอบครัวเข้มแข็งในสังคมไทยได้รับอิทธิพลโดยตรงโดยตรงจากฆราวาสธรรม 4 และการทำหน้าที่ของครอบครัว และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากฆราวาสธรรมผ่านการทำหน้าที่ของครอบครัวและความผาสุกทางจิตวิญญาณ นั่นคือ ครอบครัวจะเข้มแข็งได้สมาชิกในครอบครัวต้องปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม 4 อันได้แก่ การที่สมาชิกในครอบครัวมีความซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน (สัจจะ) มีความข่มใจไม่ใช้อารมณ์กระทบกระทั่งกัน (ทมะ) มีความอดทนต่อความยากลำบากที่เกิดขึ้นร่วมกัน (ขันติ) และมีความเสียสละแบ่งปันสุขทุกข์ร่วมกัน (จาคะ) นอกจากการปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรมแล้ว ครอบครัวที่เข้มแข็งจะเกิดขึ้นได้โดยอาศัยการทำหน้าที่ของครอบครัว คือ สมาชิกในครอบครัวมีความรู้สึกผูกพันกันมีความสามัคคีกัน มีความสามารถในการสื่อสารเชิงบวก มีความสามารถในการปฏิบัติตามบทบาทในครอบครัวของตนและมีความสามารถในการแก้ไขปัญหาร่วมกันหากเกิดปัญหาขึ้นในครอบครัว นอกจากนี้ ผลการวิจัย ยังบ่งชี้การปฏิบัติตามหลักฆราวาสธรรม 4 ช่วยให้สมาชิกเกิดความผาสุกทางจิตวิญญาณและการทำหน้าที่ของครอบครัวซึ่งจะส่งผลให้เกิดครอบครัวเข้มแข็งตามมาในที่สุด และ 2) โมเดลเชิงสาเหตุของครอบครัวเข้มแข็งในสังคมไทย มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์เท่ากับ 77 องศาอิสระ เท่ากับ 59 ความน่าจะเป็นเท่ากับ .057  ดัชนีวัดความกลมกลืนเท่ากับ .973 ตัวแปรในโมเดล สามารถอธิบายความแปรปรวนของความกล้าหาญทางศีลธรรมได้ร้อยละ 91




Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Balistreri, K.S., & Hammond, M. A. (2015). Adverse Childhood Experiences, Family Functioning and Adolescent Health and Emotional Well-Being. Public Health, 132 , 72-78.

Daches, S. et al. (2017). Family Functioning as Perceived by Parents and Young Offspring at High and Low Risk for Depression. Journal of Affective Disorders, 226, 355-360.

DeFrain, J. & Asay, S. (2007). Strong Families Around the World. Marriage & Family Review, 41(1-2), 1-10.

DeFrain, J. (1999). Creating a Strong Family: Qualities of Strong Families. Family Matters Journal, 1-3.

Division, Family Institute Promotion. (2019). Strong Family Retrieved May 12, 2019 from http://stat.thaifamily.in.th/; http://stat.thaifamily.in.th/

García-Huidobro, D., Puschel, K., & Soto, G. (2012). Family Functioning Style and Health: Opportunities for Health Prevention in Primary Care. British Journal of General Practice, 62(596), e198-e203.

Jorgensen, B.L. et al. (2016). Religious Beliefs, Practices, and Family Strengths: A Comparison of Husbands and Wives. Psychology of Religion and Spirituality, 8(2), 198-203.

Kinasen, V. et al. (2018). The Enhacing Family Strength according to Buddhist Six Direction Principle For Happy Family Life of People in Bangkok Surrounded Area. Journal of Sirinthorn Reviews, 1(19), 42-56.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). Thai Tripitakas. Ayutthaya. MCU Press.

Phra Bhramagunabhorn (P.A. Payutto) . (2007). The Valuable Couple Life. Bangkok: Pimsuay Publishing Ltd.

Phra Phromvisut (phidsansuwan). (2017). Phuddhist Psychology in building Family Sustainability of Thai Women Married With Foriegners in Bururam Province. Ayutthaya: Mahachulalongkornrajavidyalaya university.

Trangasombat, U. (2011). Family Therapy and Family Counseling. Bangkok: Santa Publishing.

Yeong Seon, H., & Kuem Sun. H. (2015). A Structural Equation Model on Family Strength of Married Working Women. Journal of Korean Academy of Nursing, 45(6), 900-909.