วัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจในยุคศตวรรษที่ 21: มองผ่านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

Main Article Content

ปรียารัตน์ ศรีชัยวงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบททางสังคมของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยที่ส่งผลต่อวัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษามหาวิทยาลัยในยุคศตวรรษที่ 21 และ 2) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่สอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยศึกษากับนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลำปาง จำนวน 60 คน ในปีการศึกษา 2562 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่ลงเรียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจเป็นผู้ประกอบการทางธุรกิจ โดยเป้าหมายในการเรียนวิชานี้คือนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดกับธุรกิจของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในการศึกษานอกห้องเรียนนักศึกษาทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ออนไลน์ได้ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ฝึกทักษะภาษาอังกฤษออนไลน์ Facebook หรือว่า YouTube รวมไปถึงแอพพลิเคชั่น Line ที่เอาไว้พูดคุยกันเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษและเรื่องอื่นๆ ที่นักศึกษาสนใจ สำหรับเนื้อหาที่นักศึกษาสนใจที่จะศึกษานอกเวลาเรียนจะเป็นเนื้อหาจำพวกคลิปวิดีโอภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการสื่อสารทางธุรกิจ ศึกษาวิธีการพูด วิธีการนำเข้าประเด็นต่างๆ นอกจากนี้ ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยข้อที่ 2 พบว่า เมื่อมองผ่านหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา พบว่า นักศึกษามีการศึกษาวิธีการดำเนินธุรกิจจากสื่อออนไลน์และเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ทำให้ได้หลักธรรมที่สามารถนำไปใช้กับการบริหารจัดการธุกิจ นั่นคือหลักกัลยาณมิตร 7 ประการ กล่าวคือ ต้องมีบุคลิกภาพน่ารัก น่าเคารพและจริงใจ รวมไปถึงมีความอดทนต่อถ้อยคำและซื่อสัตย์สุจริต ไม่พาผู้อื่นไปในทางเสื่อมเสีย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Dokkaew, N. (2008). Korean Social and Cultural Contexts as Shown on TV Drama Series “Full House”. Bangkok: Graduate School of Dhurakij Pundit University.

Nakfon, J. (2019). Social Context: Cultures and Values that Affect Education Policies and Plans. Retrieved May 4, 2019, from http://edu.stou.ac.th/EDU/UploadedFile/23723-13.pdf.

Panit, W. (2016). New Learning Culture. Retrieved May 9, 2019, from https://www.gotoknow.org/posts/611744.

Panit, W. (2012). Learning Skills of the 21st Century. Bangkok: Sodsi-Sakitwong Foundation.

Pinnitamai, W. (2019). Desirable Learning Culture: The Adjustment of Cultural Learning. Retrieved May 5, 2019 from http://www.stabundamrong.go.th/web/sarn/sarn31.pdf.

Sutassani, S. (2003). Human Relationship. Bangkok: Chulalongkorn University.

Weber, J. F. (2009). Using Exemplary Business Practices to Identify Buddhist and Confucian Ethical Value Systems. Business and Society Review, 4(114), 511-540.