การเมืองในการจัดการความขัดแย้ง ของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี

Main Article Content

พินิตา แก้วจิตคงทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและสาเหตุความขัดแย้ง 2) ศึกษาการจัดการความขัดแย้ง และ 3) ศึกษารูปแบบและวิธีการของการเมืองในการจัดการความขัดแย้งของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี ใช้การวิจับแบบเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ตัวแทนภาครัฐ ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม จำนวน 66 คน เครื่องมือ คือ
แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลพรรณนาวิเคราะห์


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาและความขัดแย้ง คือ (1) ด้านความสัมพันธ์ เกิดจากการขาดความเชื่อมั่นและความไว้วางใจ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม (2) ด้านข้อมูล เกิดจากการรับรู้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน (3) ด้านค่านิยม เกิดจากพื้นที่ดำเนินโครงการกระทบต่อวิถีชีวิตดั้งเดิม   (4) ด้านโครงสร้าง เกิดจากการส่งมอบพื้นที่โครงการ แนวก่อสร้างพาดผ่านและพื้นที่ทับซ้อนกับหน่วยงานอื่น และ (5) ด้านผลประโยชน์ เกิดจากการประเมินค่าชดเชยที่ต่ำกว่าความเป็นจริง 2) การจัดการความขัดแย้ง ได้แก่ (1) ด้านการยอมรับ ด้วยกระบวนการรับฟังความคิดเห็นที่เป็นที่ยอมรับและการเข้ามามีส่วนร่วมของคู่ขัดแย้งทุกฝ่าย (2) ด้านการประนีประนอม โดยการให้รัฐกับประชาชนหาแนวทางและความต้องการในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และ (3) ด้านการร่วมมือ ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนเป็นผู้ร่วมตัดสินใจแก้ไขปัญหา และรัฐควรเป็นผู้สนับสนุนและให้ข้อมูลทางวิชาการและหลีกเลี่ยงประเด็นปัญหา และ 3) รูปแบบและวิธีการของการเมืองในการจัดการความขัดแย้ง ได้แก่ การจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม โครงสร้างอำนาจชุมชนและผู้นำท้องถิ่น ความแตกต่างของผลประโยชน์จากการจัดซื้อที่ดิน ความแตกต่างของความคิดเรื่องผลประโยชน์สาธารณะระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่น การมีส่วนร่วมและการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ

Article Details

How to Cite
แก้วจิตคงทอง พ. (2022). การเมืองในการจัดการความขัดแย้ง ของโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่-กาญจนบุรี. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(2), 638–651. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/246785
บท
บทความวิจัย

References

Amata-Matuchat, C. (2012). Linking infrastructure to ASEAN. Retrieved 25 September 2019, from https://www.nesdb.go.th/download/content/report2013/ 14Yearend2013G4_chanvit.pdf

Gittinger, J. P. (1982). Economic analysis of agricultural projects. Baltimore: Johns Hopkins University Press.

Kongkirati, P. (2015). Thai Cultural Politics: Memory, Discourse, Power. Nonthaburi: Fah Deaw Gun Publishing House.

Mallikamarn, S. (2002). Constitution and the participation of people in the protection of resources Nature and surroundings. Bangkok: Chulalongkorn University.

Moore, W. Christopher. (2005). The Mediation Process: Practical Strategic for Resolving Conflict. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Morris, C. (2004). Managing conflict in health care settings: Principles, practices & policies. Bangkok, Thailand: Prepared for a workshop at King Prajadhikop’s Institute.

Nei, N. H., & S. Verba. (1975). Political participation. Massachusetts: Addison Wesley.

Ratanaubol, M. (2002). Benefit analysis And cost of the land readjustment project In Maha Sarakham Province. Ramkhamhaeng University.

Satha-Anand, C. (2003). Living weapons, Critical Concept of violence. Bangkok: Fah Deaw Gun Publishing House.

Set-Bunsang, S. (2010). The sociology of schism in the Thai political system. Bangkok: Usa Printing.

Silpiyodom, S. (1997). Community leaders and community conflict resolution. Ramkhamhaeng University.

Suwanmala, C. (2000). Public benefits : Department of Public Administration. Faculty of Political Science, University.

Watthanasap, W. (2005). Conflict: Principles and Problem Solving Tools. Nonthaburi: King Prajadhipok's Institute.