เวสสันดรชาดก: วรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์ในการรับรู้และการประกอบสร้าง ทางวัฒนธรรมของชาวเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้วรรณกรรมเรื่องเวสสันดรชาดของชาวเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 2) เพื่อศึกษาเวสสันดรชาดกกับการประกอบสร้างทางวัฒนธรรมของชาวเมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งใช้มุมมองทางคติชนวิทยาและสังคมวิทยาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยตีความ จากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ผลการศึกษาพบว่า เวสสันดรชาดกมีการดำรงอยู่และการสืบทอดเรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมถึงชาวเมืองปากเซมีการรับรู้เรื่องเวสสันดรชาดกผ่านตัวบทวรรณกรรมผ่านประเพณีและพิธีกรรม ตลอดจนศิลปะพื้นบ้านอย่างจิตรกรรมฝาผนัง (ฮูปแต้ม) และผ้าผะเหวด ตัวบททางวัฒนธรรมเหล่านี้ ล้วนเกิดจากอิทธิพลของเวสสันดรชาดก ทำให้เห็นบทบาทและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับชุมชน ในฐานะของวรรณกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่กับชุมชน ประเด็นการประกอบสร้างทางวัฒนธรรม ผู้วิจัยพบว่า เวสสันดรชาดกได้มีส่วนประกอบสร้างวัฒนธรรมที่หลากหลาย ได้แก่ การประกอบสร้างความศักดิ์สิทธิ์ผ่านตัวบทวรรณกรรม มีการจารเรื่องราวเวสสันดรชาดกลงในใบลานด้วยอักษรธรรม มีการแทรกคาถาบาลี และมีการอนุรักษ์สืบทอดการจารใบลาน นอกจากนี้ยังมีการประกอบสร้างวัฒนธรรมความเป็นชุมชนเกษตรที่มีนัยยะด้านการก่อเกิดความอุดมสมบูรณ์ให้แก่แหล่งเพาะปลูกเลี้ยงชีพของคนในชุมชน รวมถึงการประกอบสร้างพลังชุมชนและเครือข่ายทางสังคม การศึกษาเวสสันดรชาดกในครั้งนี้ จึงเป็นการสะท้อนมุมมองทางคติชนที่ไม่ได้ให้ความสำคัญเพียงตัวบทวรรณกรรมเท่านั้น หากแต่ให้ความสำคัญกับบริบทที่มีความสัมพันธ์กับเวสสันดรชาดกอีกด้วย
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chotudomphan, S. (2016). Read the city about the people of the city, literature and the way of the relationship of the area. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Evans, G. (2006). Brief history of Laos. Countries in the middle of mainland Southeast Asia. (Dussadee Hay Mondl translation). Chiang Mai: Silk Vermont.
Hall, S. (2003) Representation Cultural Representations and Signifying Practices. London: Sage Publications.
Hongsuwan, P. (2011). Folklore and Thai people. Mahasarakham: Publisher of Mahasarakham University.
Hongsuwan, P. (2013). A long time ago, there were stories telling stories, legends of life.Bangkok: Chulalongkorn University Publishing Office.
Hongsuwan, P. (2017). Artificial traditions in the Isan Mekong River basin community. Khon Kaen: Nana Dhamma Treasury.
Kaewthep, K., & Somsuk, H. (2008). Religion and cultural heritage: creative power in rural communities. Bangkok: Grain Sai computer graphics.
Kaewthep, K., & Somsuk, H. (2008). Study of the mass media with critical theory Concept and sample research. Bangkok: Pappim prints.
Louiyaphong, K. (2013). Phonography and construction: society, people, history and nation. Bangkok: Chulalongkorn University.
Ministry of Press and Culture. (Songkhun Chantachon translate). (1998). Lao history (Primitivepresent). Maha Sarakham: Isan Art and Culture Research Office Mahasarakham University.
Nimmanhaemin, P. (2526). Lanna Great Nation in Sociology, Anthropology, Philosophy and Aesthetics. Bangkok: Textbook Project for Social Sciences and Humanities.
Onions, C.T. (1968) The Oxford universal Dictionary Illustrated. London: Clarenodo Press.
Phra Chanpon Buppamanee. (2019). Interview. March, 18.
Phra Natee Kaewsawang. (2019). Interview. March, 18.
Phra Wanchai Chansamon. (2019). Interview. March, 18.
Poonnotok, T. (1982). Local literature. Bangkok: Odeon Store.
Porjan Khumma Sebonyong. (2019). Interview. March, 19.
Santasombat, Y. (1997). Human and culture. Bangkok: Thammasat University Press.
Thammachat, S. (2000). Jataka Literature. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Thammawat, J. (1995). Local literature: Isan-Lan Xang. Mahasarakham: Publisher Mahasarakham University.
Veerawongs, M. S. (1985). Vessantara Chadok Vientiane Versions. Vientiane: Department of Literature.