ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน ของสหกรณ์การเกษตรกลุ่มสินค้าข้าวในประเทศไทย งานวิจัยปริญญาเอก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมองค์กร กิจกรรมห่วงโซ่คุณค่า ปัจจัยความสำเร็จ และผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน และศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุระหว่างสภาพแวดล้อมองค์กร กิจกรรมห่วงโซ่คุณค่า ปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์กับผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของสหกรณ์การเกษตรกลุ่มสินค้าข้าวในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การเลือกสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น แบบแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค เลือกตัวแทน จำนวน 220 สหกรณ์ จากคณะกรรมการดำเนินการ และฝ่ายจัดการสหกรณ์ละ 2 คน ได้ข้อมูลจำนวน 440 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.985-0.991 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาและสถิติอนุมาน โดยวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมด้านโครงสร้าง มีระดับการดำเนินงานสูงสุด กิจกรรมหลักห่วงโซ่คุณค่า ผู้ให้ข้อมูลเห็นด้วยกับด้านปัจจัยนำเข้าสูงสุด ส่วนกิจกรรมสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่า ด้านโครงสร้างพื้นฐานสูงสุด ปัจจัยแห่งความสำเร็จสูงสุดคือด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และการดำเนินงานที่ยั่งยืนของสหกรณ์คือด้านความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสูงสุด การศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุ พบว่า 1) สภาพแวดล้อมองค์กร และกิจกรรมสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่ามีอิทธิพลทางตรงและอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 2) กิจกรรมหลักห่วงโซ่คุณค่ามีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน 3) ปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์มีอิทธิพลทางตรงต่อ ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืน และ 4) สภาพแวดล้อมองค์กร กิจกรรมหลักห่วงโซ่คุณค่า และกิจกรรมสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่ามีอิทธิพลทางตรงต่อปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์ ซึ่งความผันแปรของผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมองค์กร กิจกรรมหลักห่วงโซ่คุณค่า กิจกรรมสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่าและปัจจัยความสำเร็จของสหกรณ์ ร้อยละ 71
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Acharyulu, G.V.R.K., & Shekhar, B.R. (2012) . Role of Value Chain Strategy in Healthcare Supply Chain Management: An Empirical Study in India. International Journal of Management, 29(1), 91-97.
Cooperative Promotion Department. (2018). The Twenty – Year Agriculture and Cooperative Strategy 2017-2036. Bangkok: Cooperative Promotion Department.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis a global perspective. (5th ed). USA: Pearson Education.
Hu, B., Leopold-Wildburger, U., & Strohhecker, J. (2017). Strategy Map Concepts in a Balanced Scorecard Cockpit Improve Performance. European Journal of Operational Research, 258(2), 664-676.
Kaplan, R.S. and D.P. Norton, (1992). The Balanced Scorecard: Measures that Drive Performance. Harvard Business Review.
Liao, S., Wu, C., Hu, D., & Tsuei, G. A. (2009). Knowledge Acquisition, Absorptive Capacity, and Innovation Capability: An Empirical study of Taiwan's Knowledge-Intensive Industries. World Academy of Science. Engineering and Technology, 53, 160-167.
Pongwiritthon, R., & Kantawongwan, B. (2011). The Management to Achieve Competitive Advantages by Balanced Scorecard of Small and Medium Enterprises in Northern Thailand. Srinakharinwirot Business Journal, 2(1), 41-57.
Porter, M.E. (1985). Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. The Free Press. New York: NY.
Rattanaprichavej, N. (2010). The Organizational Performance of Small and Medium Enterprises (SMEs) from the Concepts of Learning Organization. HCU Journal, 14(27), 85-98.
Rattanawiwatkul, R. ( 2007). The Impact of Organizational Culture on the Effectiveness of Accounting Information System: Savings Cooperatives in the Cooperative Auditing Office Area 4. Sisaket: Sisaket Rajabhat University.
Srichai, C. (2012). Organization Environments Influencing Business Intelligence Usage in Thailand SMEs. Thesis Master of Science (Applied Statistics and Information Technology): National Institute of Development Administration.
Tabachnick, B. G., & Fidell, L. S. (2007). Using multivariate statistics(5th ed.). Allyn & Bacon: Pearson Education.
Thieanphut, D. (2004). KPIs (Key Performance Indicators) and BSC (The Balance Scorecard). Bangkok: Human Capital.
Wanitkittikul, K.., Kuleelung, T., & Sungyuan, T. (2018). Value Chain to Build up Community Strength of Rice Producers in Mahasarakham Province. Rommayasan Academic Journal, 16(Special Issue), 183-199.