อาหารพื้นบ้าน: กระบวนการจัดการตามหลักโภชนาการ เพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พระครูสังฆรักษ์บุญเสริม กิตฺติวณฺโณ
รวีโรจน์ ศรีคำภา
กาญจนา ดำจุติ
คุณญา แก้วทันคำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และคุณค่าตามหลักโภชนาการอาหารพื้นบ้าน 2) เพื่อพัฒนาอาหารพื้นบ้านยอดนิยมตามหลักโภชนาการ 3) เพื่อศึกษากระบวนการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยม ใช้วิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงสำรวจจากแบบสอบถามผู้สูงอายุเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 400 คน โดยใช้สูตรทาโรยามาเน่ สุ่มตัวอย่างแบบใช้โควต้า สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 33 คน การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน และการวิจัยทดลอง จำนวน 60 คน ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณา ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ความรู้ตามหลักโภชนาการอาหารพื้นบ้านยอดนิยม มี 3 ประการ คือ 1) ด้านการประกอบอาหารพื้นบ้าน 2) ด้านคุณค่าของอาหารตามหลักโภชนาการ และ 3) รักษาโรคผู้สูงอายุได้ และมีคุณค่าทางโภชนาการ เป็นสมุนไพร และเสริมสร้างสุขภาพได้ 2. หลังจากพัฒนาอาหารพื้นบ้านยอดนิยมแล้วได้คู่มือเมนูอาหารพื้นบ้าน 10 อย่างอาหารเหนือ หลังเข้ากิจกรรมเป็นเวลา 1 เดือน กลุ่มทดลองมีสัดส่วนของผู้ที่มีระดับความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนค่าระดับน้ำตาลในเลือด ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดและค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์เป้าหมายเพิ่มมากขึ้นแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. กระบวนการจัดการองค์ความรู้อาหารพื้นบ้านมี 4 กระบวนการ คือ 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารพื้นบ้าน 2) การถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น 3) การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และ 4) การฝึกทักษะปฏิบัติร่วมกัน ผู้สูงอายุมีความรู้เพิ่มขึ้นและมีความพอใจในกระบวนการจัดการความรู้อาหารพื้นบ้านยอดนิยม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bazzano, L. A., Green, T., Harrison, T. N., & Reynolds, K. (2013). Dietary Approaches to Prevent Hypertension. Curr Hypertens, 15(6), 694–702.

Boonsuthakul, S. (2016). Academic Data Based on Completed Elder health Care for Implementative Promotion of Health Care Commission.

Boukeaw, P., & Teungfung, R. (2016). Health Care and Health Status of Thai Aging,Journal of the Association of Researchers, 21(2), 94-109.

Isranews Agency. (2019). Thailand has 13 million elderly people, entering a complete aging society - looking for the state to increase the power of the local authorities to take care. Retrieved June 17, 2019, from https://www.isranews.org/isranewsnews/77916-news-779161.html.

Lindström, J. et al. (2003). The Finnish Diabetes Prevention Study (DPS) Lifestyle Intervention and 3-year Results on Diet and Physical Activity. Diabetes Care, 26(12), 3230-3236.

MGR Online. (2018). The elderly will be more than the children for the first time, revealing that 30% are not prepared to be quality veterans. Retrieved August 19, 2018, from https://mgronline.com/qol/detail/9610000082863.

Sareeso, P. et al. (2017). The situation, health problems and care needs of older persons with chronic illness: Chiangrai municipality. Journal of Nursing Science & Health, 40(2), 85-96.

Seanlum, W., & Monton, N. (2017). Local Food for Good Health in Talad Community. Nakhon Ratchasima Province. Area Based Development Research Journal, 9(6), 445-457.

Sornboon, A., Chumpawadee, U., & Palapol, T. M.N.S. (2019). Way of Elderly Health Care in Community: Meaning and Care Management,Journal of Nursing and Health Care, 37(1), 241-248.

Suwannapa, C., Woowong, O., & Suphametheesakul, S. (2017). Local Food: The Management Process for the Quality of Life and Social Ethics in Northern Communities. (Research Report). Phrae: Mahachularongkorrajvidyala Phrae Campus.