ศึกษาวิเคราะห์แนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท

Main Article Content

แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของเจตสิก 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าทางจริยธรรมอันเกิดจากความเข้าใจแนวคิดเรื่องจิตในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยศึกษาจากพระไตรปิฎกและอรรถกถาพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ในคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์อรรถกถาอัฏฐสาลินี คัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์อภิธรรมาวตาร คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ คัมภีร์อภิธรรมมัตถวิภาวินีฎีกา คัมภีร์ปรมัตถทีปนี และตำราปรมัตถโชติกะแสดงจำนวนจิต 89 ดวง หรือ 121 ดวง ทั้งหมดมีชื่อเรียกตามหน้าที่และลักษณะอาการที่เกิดขึ้น แบ่งกลุ่มจิตที่เป็นเหตุ จิตที่เป็นผล จิตที่ไม่เป็นเหตุและผล มีทั้งหมด 4 ระดับคือ 1.ระดับเบื้องต้น 2.ระดับกลาง 3.ระดับสูง 4.ระดับสูงที่สุด สำหรับในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎกปรากฏชื่อว่า จิต มโน วิญญญาณเท่านั้นไม่ปรากฏจำนวนของจิต 2) การที่จิตแสดงพฤติกรรมด้านดี พฤติกรรมด้านไม่ดีหรือพฤติกรรมระดับกลางนั้นอันเนื่องมาจากเจตสิกจำนวน 52 ดวงอันเป็นรากฐานให้เกิดพฤติกรรม 3) การพัฒนาจิตให้มีคุณค่าทางจริยธรรมคือการพัฒนาจิตระดับเบื้องต้นให้มีความผ่องใส ตามรักษาจิตที่ผ่องใสให้มีความผ่องใสได้นานโดยการฝึกกรรมฐานเพื่อนำไปสู่ความสุขทางจิตอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anagarika, G. (1993).Buddhist Reflections. Motilal Banarsidass Publishers Private Limited Delhi.

Bhumibalo Bhikkhu foundation. (1993). Thai Abhidhammāvatāra.Bangkok: Bhumibalo Printing.

Bhumibalo Bhikkhu foundation. (2003). Abhidhammatthasaṅgaha, Abhidhammattha vibhāvinīTīkā. Bangkok: Bhumibalo Printing.

Bhikkhu Bodhi, (2006). Comprehensive Manual of Abhidhamma.Sri Lanka: Ruchira Printing.

Chantavanich,S. (2010). Qualitative Research Methods.(17th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Iddhivaro, T. et al. (2011). A Comparative Study of Bhavanga-citta in Buddhism and unconscious mind in psychoanalytic theory west. Research Project funded by Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2017). commentaries:Thai version. Bangkok: MCU Press.

Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (2012). Visuddhimagga:Thai version.Bangkok: MCU Press.

Nyanaponika thera. (1962). The Heart of Buddhist Meditation. Printed and bound in Great Britain by The Guernsey Press Co. Ltd, Guernsey Channel Islands.

Nyanatiloka Mahāthera. (2008). Guide through the Abhidhamma Pitika.Sri Lanka: Ajith Printing.

Phradhammpala, P. (2009).Paramatthadīpanī. translated by Phrakandasaraphivong.Bangkok: Phrayoonsanthai Printing.

Piyananda, D. (1974). The Concept of Mind in Early Buddhism. (Doctoral Dissertation). Graduate School of Arts and Sciences: Catholic University of America. Washington.

Phra Brahmagunabhorn. (2015). Dictionary of Buddhism. Bangkok: Pali Dhamma Printing.

Saddhammajotika, S. (1997). Paramathajotika vithisangaha chapter 4. Bangkok: Phipayavisutti Printing.

Saddhammajotika, S. (2006). Mahapattāna scripture. Bangkok: Phipayavisutti Printing.

Sorado, S. (2009). handbook Vipassana Meditation. Bangkok: SMK Printing.

Vutthikaro, S. (2008). The Cittamātra of Yogācāra Buddhism: An Analytical Study Based on the Concept of Citta in Early Buddhism. (Doctoral Dissertation). graduate school: Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.

Watters, D. (1199). Superconciousness A guide to meditation. North Delhi: Motilal Banarisdass Printing.