การใช้มาตรการพิเศษในการแสวงหาพยานหลักฐานใน คดีเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษาเฉพาะคดีค้ามนุษย์

Main Article Content

วรรณวิภา เมืองถ้ำ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ความหมาย ลักษณะ รูปแบบ ขอบเขตขององค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้ง ในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 และการค้ามนุษย์ 2) ศึกษาลักษณะ รูปแบบ ของมาตรการพิเศษที่ใช้ในคดีที่เกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000 3) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายสหรัฐอเมริกา กฎหมายสหพันธรัฐเยอรมนี และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการนำมาตรการพิเศษมาใช้ในคดีองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการนำมาตรการพิเศษมาใช้ ในคดีองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่เกี่ยวกับการค้ามนุษย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าแม้ประเทศไทยได้มีการออกกฎหมายอนุวัติการส่วนใหญ่ให้มีความสอดคล้องกับบทบัญญัติตามอนุสัญญาฯ แต่อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาการใช้มาตรการพิเศษกับการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ ปัญหาการใช้มาตรการพิเศษในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติค้ามนุษย์ ปัญหาการใช้มาตรการพิเศษกับการรับฟังพยานหลักฐานในความผิดฐานค้ามนุษย์ข้ามชาติ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแสวงหาพยานหลักฐานโดยใช้มาตรการพิเศษในคดีค้ามนุษย์ข้ามชาติ ข้อจำกัดเกี่ยวกับอำนาจในการจับกุมของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ดังนั้น ผลการวิจัยจึงเสนอแนะว่าควรเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการตรวจสอบการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของศาลตามข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ พ.ศ. 2557 ประการต่อมาเสนอให้เพิ่มบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 เกี่ยวกับการใช้มาตรการพิเศษในกรณีฉุกเฉิน และเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 โดยให้ อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายค้ามนุษย์ให้มีอำนาจเช่นเดียวกับพนักงานฝ่ายปกครองและพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Council of Europe. (2013). Deployment of Special Investigative means. Retrieved November 4, 2019, from https://rm.coe.int/deployment-of-special-investigative-meanseng/16807828fa.

Lijana, S. (2009). The Limits of the use of undercover agents and the Right to a Fair Trial under article 6(1) of the European Convention on Human Rights. Jurisprudence. 3(117), 263-284.

Ronald, W. (2015). Human Trafficking and Contemporary Slavery. Retrieved April 27, 2020, from http://www.annualreviews.org.

Sybil, S. (2002). Covert Surveillance and the Use of Informants in Mike McConville and Geoffrey Wilson (eds). Oxford: University Press.

Tanatthep, T. (2018). Promoting the Use of the Special Investigative Techniques of Article 20 of the UNTOC to Combat Organized Crimes in Thailand. (Doctoral Dissertation). University of Aberdeen. Scotland.

The United Nations Asia and Far East Institute for the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders (UNAFEI). (2002). Resource Material Series No.58, 116th International Training Course Reports of the Course, Group 1 Phase 2, Special Investigative Tools to Combat Transnational Organized Crime (TOC). Retrieved August 5, 2020, from http://www.unafei.or.jp/pdf/58-19.pdf.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2004). United Nations Convention against Transnational Organized Crime 2000. Retrieved August 5, 2020, from https://www.unodc.org/documents/middleeastandnorthafrica/organisedcrime/UNITED_NATIONS_CONVENTION_AGAINST_TRANSNATIONAL_ORGANIZED_CRIME_AND_THE_PROTOCOLS_THERETO.pdf