พระธาตุศิลปะล้านช้าง: ความเกี่ยวข้องกับวรรณกรรมความเชื่อและศิลปกรรมท้องถิ่นอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเป็นมาและรูปแบบศิลปกรรมขององค์พระธาตุ 2) วรรณกรรมและความเชื่อเกี่ยวกับองค์พระธาตุ ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพศึกษาข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม นำเสนอผลงานแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1) พระธาตุล้านช้างมีต้นแบบและคติความเชื่อมาจากพระธาตุพนมและอิทธิพลศิลปะใกล้เคียง องค์พระธาตุพนมมีพื้นฐานมาจากศิลปะและสถาปัตยกรรมของศาสนสถานในคติฮินดูต่อเนื่องมาจนถึงพุทธศาสนานิกายมหายานหรือยุคทวารวดี และในราวพุทธศตวรรษที่ 22 อาณาจักรล้านช้างได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยเฉพาะในทางพุทธศาสนา มีการปลูกสร้างทางสถาปัตยกรรมจำนวนมากโดยพระธาตุหลายแห่งซึ่งมีพระธาตุพนมเป็นต้นแบบต่อมามีการสร้างสรรค์ทางศิลปะที่หลากหลาย 2) วรรณกรรมและความเชื่อ ตำนานอุรังคนิทานถือว่าเป็นศูนย์กลางทางวรรณกรรมความเชื่อ โดยมีการผูกตำนานอุรังคนิทานให้เป็นตำนานหลัก ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับภูมิวัฒนธรรม สังคม ค่านิยม ความเชื่อ เนื้อหาที่สำคัญกล่าวถึงการเสด็จมาของพระพุทธเจ้าแล้วทรงตรัสพยากรณ์ถึงดินแดนแถบนี้ ภายหลังก่อให้เกิดพลังศรัทธา สำหรับตำนานอุรังคนิทานมีการบันทึกและบอกเล่าต่อกันมา รวมทั้งการประพันธ์เป็นกลอนลำเพื่อสื่อสารให้ผู้ฟังเข้าใจ นอกจากนี้ยังมีนิทานมุขปาฐะเกี่ยวกับพระธาตุท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์กับตำนานหลัก พระธาตุล้านช้างแต่ละแห่งเป็นปูชนียสถานและเป็นหลักชัยให้ผู้คนได้กราบไหว้บูชา เกิดธรรมเนียมประเพณีวิธีปฏิบัติต่อองค์พระธาตุส่งผลต่อความสามัคคีและความสันติสุขของผู้คนในชุมชน
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Champadaeng, S. (2010). The Role of Molam in Solving Social Problems. The Journal of Social Sciences, 6(3), 365-368.
Champadaeng, S. et al. ( 2 0 1 3 ) . Lan Chang Stupas: Synthesis of cultural, diversity to local history, archeology and art in Northeast Thailand. Mahasarakham: Faculty of Cultural Science Mahasarakham University.
Department of Religious Affairs. (2016). Tripitaka version for people. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (1996). Thai Tripitakas. Bangkok: MCU Press.
Maneechoti, S. ( 2 0 1 1 ). Phra That Phanom Stupa: A Sacred Religious Sanctuary from the Perspective of Symbolism in the Socio-cultural Dimensions ( Master’s Thesis). Mahasarakham University. Mahasarakham.
Martviset, Y. (2018). The Legendary of Urangbhatu: The Reflection of Cultural Basin. The Social Sciences Medwell Journals, 13(10), 1486-1490.
Phang-ngern, P. (1991). Klonlum -wisdom of Isan. Bangkok: Odian Store.
Pheply, S. (2016). Bua Pattern in thai decorative. Journal of Art Klong Hok. 3(1), 89-103.
Phra Khongsak Sirikuto ( Manvicha). (2017). Belief and Rituals towards Bungfai Tradition of Banthard Community, Banthard Sub-District, Phen District, Udonthani. ( Master’s Thesis). Mahachulalongkornrajavidyalaya University. Ayutthaya.
Phramaha Boonchoo Poosri. (2017). A study of the Northeastern Thai people's buddhist world view in the literary work entitled Sanhomthat. (Master’s Thesis). Silpakorn University. Bangkok.
Phramaha Boonnam Parakkamo. (2018). Beliefs and worship the Buddha’s Relics of Buddhists in Lan Chang. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1568-1577.
Phra Sangvian Tirapanyo (Sapang) et al. (2017). An Analytical on Jetiya in Thailand. Humanities and Social Sciences Journal Ubon Ratchatani Rajabhat University, 8(2), 88-103.
Pleesak, S. (2013). Roi Et Puppets show. Interview. May, 12.
Prapandvidya, J. ( 2 0 1 6 ). Uranganidana: The Lineage of Buddhist Shrines in Far Northeastern Thailand. Journal of Buddhism, 2(1), 190-193.
Rawwarin, N. (2018). Uranganidana AD. 1669. Mahasarakham: Apichat Press.
Srisamang, S. (2002). The King of Laos. Bangkok: Joseph printing.
Uluchata, P. (1995). Siam Art: Painting and Stupa. Bangkok: Muang Boran Publishing.
Walliphodom, S. (1996). Meaning of Phradtatu in Siam country civilization. Bangkok: Muang Boran Publishing.