เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยปฏิสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตร การใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยา พ.ศ. 2549-2552

Main Article Content

พัชรีวรรณ สุวรรณบุณย์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) ศึกษาวิธีการ ขั้นตอน การออกมาตรการตอบโต้ของกลุ่มพลังสังคมโดยมี กลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ กลุ่มที่สนับสนุนบริษัทยาข้ามชาติ กลุ่มผู้คัดค้านภายในประเทศไทยที่คัดค้านการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาได้อย่างเป็นกระบวนการได้แก่ตัวแสดงกลุ่มใดบ้างและมีบทบาทอย่างไรบ้าง 2) ศึกษาวิธีการ ขั้นตอน การออกมาตรการตอบโต้ของกลุ่มพลังสังคมที่มีความพยายามคัดค้านการประกาศที่กระทรวงสาธารณสุขใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาได้มีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มพลังสังคมที่สนับสนุนการประกาศใช้สิทธิเหนือสิทธิบัตรยาอย่างไรบ้างและมีการตอบโต้ปฏิสัมพันธ์นั้นอย่างไร โดยการวิจัยเชิงคุณภาพสรุปผลโดยใช้ทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ ผลงานวิจัยทางด้านกฎหมายและการแพทย์ร่วมกับข้อมูลจากเอกสารชั้นต้น และการสัมภาษณ์มาสร้างคำอธิบายในลักษณะการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทของกลุ่มคัดค้านการประกาศมาตรการซีแอลและกลุ่มสนับสนุนบริษัทยาที่มีบทบาทต่อเศรษฐกิจการเมืองโดยอิทธิพลของกลุ่มบริษัทยาเป็นกลุ่มทุนใหญ่ข้ามชาติโดยแบ่งได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่มทุนบริษัทใหญ่ในประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มบริษัทสาขาอยู่ในประเทศไทย แต่เนื่องด้วยระบบการบริหารราชการที่ยังเข้มแข็งในสังคมไทยการบริหารภาครัฐในลักษณะต้องดำเนินนโยบายในสถานะพึ่งพิงฝ่ายทุนเปิดโอกาสทางการค้าการลงทุนโดยการผ่อนปรนมาตรการกฎระเบียบที่เอื้อประโยชน์ โดยการแก้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร ดำเนินความสัมพันธ์แบบถ้อยทีถ้อยอาศัยและไม่กล้าชี้แจงในความถูกต้องจากปัญหาการเข้าถึงยาภายในประเทศ ขาดการทำงานแบบมีส่วนร่วมและบูรณาการโดยเห็นได้จากรัฐบาลประเทศไทยในช่วง พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ. 2552 เป็นรัฐบาลที่มาจากการยึดอำนาจและพยายามอยู่ในอำนาจให้นานที่สุดจึงต้องแสดงท่าทีและบทบาทที่เข้าข้างฝ่ายทุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Khuanphot, C. (2008) . Compulsory licensing measures with drug access problems: Considerations on international law and agreements. Bangkok: Thammasat University Press.

Chai Pinit, C. (2010). Political Economy of Intellectual Property Policy: A Case Study of the Use of Patent Rights in Thailand. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok.

Balaam, D. N., & Veseth, M. (2001). Introduction to International Political Economy. New Jersey: Pearson Education.

Robert Gilpin. (2003). The Nation-State in the Global Political Economy in The Global Transformations Reader: An Introduction the Globalization Debate. (2rd ed.) . McGrew Cambridge: Polity Press.