รูปแบบการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาและองค์ประกอบรูปแบบการพัฒนาทักษะฯ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาฯ 3)เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาฯ และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการพัฒนา เพื่อหาองค์ประกอบการพัฒนาทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบโดยตรวจสอบรูปแบบและคู่มือด้วยการสัมมนาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้รูปแบบ ขั้นตอนที่ 4 ประเมินรูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเขตตรวจราชการที่ 13 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง แบบทดสอบ แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบประเมินรูปแบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.00, S.D.=0.54) 2) การพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ใช้กระบวนการบริหารตามวงจรคุณภาพ (PDCA) มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) องค์ประกอบด้านทักษะการใช้ ประกอบด้วย 11 ตัวบ่งชี้ (2) องค์ประกอบด้านทักษะการเข้าใจ ประกอบด้วย 12 ตัวบ่งชี้ (3) องค์ประกอบด้านทักษะการสร้าง ประกอบด้วย 12 ตัวบ่งชี้ (4) องค์ประกอบด้านทักษะการเข้าถึง ประกอบด้วย 10 ตัวบ่งชี้ 3) ผลการปฏิบัติตามรูปแบบการพัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาหลังการฝึกอบรมผู้บริหารมีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลสูงขึ้นกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเห็นว่ารูปแบบโดยรวมมีความเป็นประโยชน์มากที่สุด (x ̅=4.20) รองลงมาคือด้านความเหมาะสม (x ̅=4.08) ส่วนด้านความเป็นไปได้มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (x ̅=3.97)
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Chapoo, K. (2013). The use of information technology in basic school management. Under the Office of Secondary Educational Service Area 25. (Master’s Thesis). Pathumthani University. Pathum Thani.
Gillan, H. (2016). Information and digital literacy: A strategic framework for UQ library 2016-2030. (Doctoral Dissertation). Roosevelt University. Chicago.
Klabdee, S. (2015). Basic Skills for Learning through Information and Communication Technology. As for the ASEAN Bureau of International Relations Public Relations Department. Retrieved September 3, 2018, from http://www.aseanthai.net/ewt_news.php?nid=3314&filename=index.
Ministry of Education. (1999). National Education Act 1999. Bangkok: Siam Sport Syndicate Limited.
Noisaeng, S. (2012). Model for Competency Development of School Administrators by Knowledge Management to Increase Motivation in Learning Management of Teachers in Educational Institutions under the Office of Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Eastern Asia University. Pathum Thani.
Ozdamar-Keskin, N. et al. (2015). Examining digital literacy competences and learning habits of open and distance learners. Contemporary Educational Technology, 6(1), 74-90.
Phansena, K. (2019). Development a Blended Training Model for Enhancing the Competency of the Schools Director Under the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University. Maha Sarakham.
Redmond, K. (2016). 21st Century Leadership Skills Indicator for Basic School Administrators. (Doctoral Dissertation). Mahamakut Buddhist University. Nakhon Pathom.
Sanongpan, P. (2014). Skills of 21st Century School Administrators Under Udon Thani Primary Educational Service Area Office 3. (Master’s Thesis). Khon Kaen University. Khon Kaen.
Sawpayon, S. (2015). Principles and Process in Educational Administration: Theory and Practices. Bangkok: Mittraphap Printing and Sound Company Limited.
Thammakitwat, P. (2017). Promoting information and communication technology skills of school administrators Under the Office of Secondary Educational Service Areas. Journal of SWU Educational Administration, 14(27), 30-41.