กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

เอกลักษณ์ พลศักดิ์
ชวนคิด มะเสนะ
ไพวุฒิ ลังกา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ การสร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 2) การสร้างและพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล 3) การทดลองกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และ 4) การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เป็นรูปแบบวิจัยแบบผสมคือ 1) การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง 546 ท่าน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 2) วิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 9 ท่านเพื่อใช้องค์ความรู้ดังกล่าวมาพัฒนากลยุทธ์ และทำประชาพิจารณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 22 ท่าน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า เมื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการ การสร้างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลโดยรวม พบว่าระดับสภาพการปฏิบัติในปัจจุบัน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการการสร้างกลยุทธ์ในภาพรวมระดับมากที่สุด กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 1) วิสัยทัศน์ 2) พันธกิจ 3) เป้าประสงค์ 4) กลยุทธ์ และ 5) ตัวชี้วัดความสำเร็จ โดยใช้กระบวนการขับเคลื่อน POLC ในการดำเนินงานตามแนวกลยุทธ์ ภาพรวมหลังการทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผู้ทรงคุณวุฒิได้ตรวจสอบกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล พบว่ามีความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถนำกลยุทธ์ไปใช้เพื่อพัฒนาโรงเรียนท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลได้จริง

Article Details

How to Cite
พลศักดิ์ เ., มะเสนะ ช. ., & ลังกา ไ. (2020). กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 9(4), 1430–1443. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/journal-peace/article/view/244122
บท
บทความวิจัย

References

Boonkrong, P. (2015). The Strategies for Developing the Leadership of the Administrators of the School under the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.

Chanthawanit, A. (2004). Management guidelines and School development to quality school. Bangkok: Secretariat of the Council of Education Bureau of Education Policy and Planning.

Ministry of Education. (2017). The results of the Ministry of Education in 2 years (2015-2016). Bangkok: Ministry of Education.

Mutonglang, B. (2016). The Strtegies to excellence in School administration in the Primary Schools under the Jurisdiction of the Office of the Basic Education Commission. (Doctoral Dissertation). Ubon Ratchathani Rajabhat University. Ubon Ratchathani.

Office of Secretary-General of Education Concil. (2017). The National Scheme of Education B.E.2560-2579. Bangkok: Phrik wan Graphics.

Office of the Education Council. (2018). Thai Education Situation in the World Forum 2016/2017. Bangkok: Office of the Education Council.

Pearce, A., Robinson, J., & Richard, B. (2007). Formulation Implementation and Control of Competitive Strategy. New York: McGraw-Hill.

Runcharoen, T. (2011). Professional in Educational Management and Adminstration in Educational Revolution Period. (9th ed). Bangkok: Khoawfang.

Theeratith, S. (2013). A strategy in Relation to the development of Desirable Characteristics of Asean citizens studying in Basic Education Students. (Doctoral Dissertation). Srinakharinwirot University. Bangkok.

Withunchat, M. (2008). The development of educational management strategies to promote learner-centered teaching of private schools in grades 1-2. (Doctoral Dissertation). St. John's University. Bangkok.