ธรรมปฏิบัติกับการพัฒนาสังคมเชิงพุทธบูรณาการเพื่อความพอเพียง ภายใต้การขับเคลื่อนตามแนวประชารัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบธรรมปฏิบัติกับการพัฒนาสังคมเชิงพุทธบูรณาการบนพื้นฐานของความพอเพียง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 25 คน การสนทนากลุ่มเฉพาะกับผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูปหรือคน และการทดลองปฏิบัติกับกลุ่มประชาชนและพุทธศาสนิกชนที่สมัครใจเข้าร่วมทดสอบในจังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาของปี พ.ศ. 2562 จำนวน 250 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง แบบบันทึกการสนทนากลุ่มเฉพาะ และแบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติธรรม ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบธรรมปฏิบัติกับการพัฒนาสังคมเชิงพุทธบูรณาการบนพื้นฐานของความพอเพียง ประกอบด้วย 1) การฝึกฝนพัฒนาให้เกิดการสำรวมระวังทางกายให้เกิดการระงับ ยับยั้ง ชั่งใจ ไม่เบียดเบียน ไม่เบียดบัง และเคารพให้เกียรติกัน 2) การฝึกฝนพัฒนาให้เกิดการสำรวมระวังทางวาจา โดยจะต้องฝึกฝนการพูดดี พูดเพราะจนเป็นพฤติกรรมนิสัย และ 3) การฝึกฝนพัฒนาให้เกิดการสำรวมระวังทางจิตใจ โดยการฝึกสมาธิหรือการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อจิตใจใสสะอาด ผลการประเมินผู้เข้าร่วมโครงการรักษาศีลและปฏิบัติธรรมในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา 2562 เมื่อผ่านการอบรม พบว่า มีพัฒนาการที่เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นในทุกมิติทั้งด้านความรู้ ด้านทัศนคติ วิธีการปฏิบัติธรรม และการดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจความพอเพียง
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร
References
Manideet, P. (2012). An Analysis of Mrs.Thongdee Phothiyong's achievement in community development from a buddhist view. (Research Repert). Chiangmai: Chiangmai University.
Palo, S. (2005). The Five Precepts, A Guide to Keeping the Mind. Bangkok: Amarin Publishing.
Phra Niphipit Sophon (Anantakit Sophon), et al. (2017). Community Development based on Buddhist Community. Journal Social Science, MCU, 6(2) (Special issue), 97.
Phra Prom Khunaporn (P.A. Payutto). (2008). Buddha-Dharma (Extended Edition). (15th edition), Bangkok: Sahamahik Company Limited.
Phrakhru Udomchandavan (Uttamo). (2018). The Buddhist Integrated Life Quality Development of People in Buriram Province. Mahajula Academic Journal, 5(2), 216-230.
Phrakhrupaladsuvattanamethakul (Chaiyan Surbkrapan). (2014). Integration of Modern Thais’ Ways of Life with Buddhist Ethics. Journal of Yanasangvorn Research Institues, 5(1), 1-10.
Phramaha Boonlert Chuaythanee. (2017). The Communities Preserving Five Precepts: Model and Promote Processes of Unites Cultural in Thai Society. Journal Social Science, MCU, 6(2) (Special issue), 435-448.
Phramaha Patorn Abakaro (Inthaphool), & Seeta, P. (2019). Community Development by Buddhist Integration. The Journal of Research and Academics, 2(3), 113-128.
Pramaha Prakasit Thitipasitthikorn, PhrapaladPrapoj Yusamran, & Sodprasert, S. (2020). Community development and Urbanized Buddhist Community in Nakhon Pathom Province. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 3(1), 63-80.
Wannasakulcharoen, M., & Rattanapanakul, C. (2020). Organizational Effectiveness. Journal of Arts Management, 4(1), 193-104.
Wattanapradit, K. (2015). Buddhist Method for Creating Motivation to Observe the Five Precepts. Journal of Psychology Kasem Bundit University, 5(1), 14.
Yoophum, N. et al. (2018). Buddhist Integration Strategy to Create the Drug free Society Accordance in Thailand. Journal of Graduate MCU khonkaen Campus, 5(1), 241-258.